•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปัจจุบันมีจำนวนมารดาวัยรุ่น (อายุระหว่าง 14 - 18 ปี) เพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนมากมักเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดปัญหาทางอารมณ์ในมารดาวัยนี้ ที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอดที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมาก แต่ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในมารดาวัยรุ่น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาภาวะซึมเศร้าในมารดากลุ่มนี้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในมารดาวัยรุ่นช่วง 1 - 2 สัปดาห์ และ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอดรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากมารดาวัยรุ่นหลังคลอด อายุอยู่ในช่วง 14 - 18 ปี ที่มาคลอดบุตรและนอนพักรักษาในโรงพยาบาลสิรินธร ในช่วงที่ทำการเก็บข้อมูล (ธ.ค. 2556 – มี.ค. 2557) จำนวน 147 ราย โดยใช้แบบสอบถาม1) ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลทางจิตสังคม2) แบบวัดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Edinburgh Postnatal DepressionScale (EPDS) ฉบับภาษาไทย (วัด 2 ครั้ง) 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต5) แบบสอบถามการปรับตัวบทบาทการเป็นมารดา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ในช่วง 1 - 2 สัปดาห์ หลังคลอดจำนวน 44 ราย (คิดเป็นร้อยละ 29.9) และมีภาวะซึมเศร้า ในช่วง4 - 6 สัปดาห์ หลังคลอดจำนวน 31 ราย (คิดเป็นร้อยละ 25.5) โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในช่วง 1 - 2 สัปดาห์หลังคลอดได้แก่อายุของคู่สมรส อาการปัสสาวะบ่อย และการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และ ความรู้สึก ไม่พร้อมหรือไม่แน่ใจในการตั้งครรภ์ครั้งนี้(p < 0.05) ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ในช่วง 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด ได้แก่ การมีอาการวิตกกังวลในระหว่างตั้งครรภ์การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (p <0.05) และการมีภาวะซึมเศร้าในช่วง 1 - 2 สัปดาห์หลังคลอด (p < 0.01)สรุป : พบว่าการเกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 14 - 18 ปี เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดการทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ สามารถให้ความช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.2.9

First Page

195

Last Page

205

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.