Abstract
โรคตับคั่งไขมันเป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน โดยโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนลงพุงและโรคหัวใจ โรคตับคั่งไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มที่มีตับคั่งไขมันอย่างเดียว และกลุ่มที่มีการอักเสบร่วมด้วย ซึ่งในกลุ่มนี้จะอัตราตายที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งสามารถพัฒนากลายเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ สำหรับไมโครอาร์เอ็นเอนั้นมีส่วนสำคัญในการกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ทั้งในแง่สรีรวิทยาและพยาธิวิทยาเช่น การแบ่งตัว การอักเสบ หรือการตายของเซลล์ ไมโครอาร์เอ็นเอหลายชนิดถูกแสดงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคตับหลายชนิดโดยเฉพาะโรคตับคั่งไขมันข้อมูลหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่า miR-122 มีบทบาทสำคัญในการควบคุมเมตาบอลิสมของไขมันในตับ การให้สารยับยั้งต่อ miR-122 ถูกคาดหวังว่าจะใช้ในการรักษาเพื่อลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด แต่ข้อมูลยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่ นอกจากนี้ miR-33 ยังเป็นไมโครอาร์เอ็นเอที่ควบคุมสมดุลของคลอเลสเตอรอลและกรดไขมันอีกด้วย ส่วน miR-34a เป็นไมโครอาร์เอ็นเอที่ได้รับความสนใจว่าอาจมีบทบาทสำคัญต่อการอักเสบของตับผ่านทาง miR-34a/SIRT1/p53/ apoptosis pathwayและควบคุมการทำงานของ HMGCoA reductase ซึ่งกลไกเหล่านี้ได้มีการศึกษายืนยันในสัตว์และมนุษย์ ไมโครอาร์เอ็นเอยังมีผลต่อการเกิดพังผืดในตับผ่านทางกลไกต่าง ๆ เช่นการกระตุ้น hepaticstellate cell ในแง่การประยุกต์ใช้ทางคลินิกนั้น ไมโครอาร์เอ็นเอในซีรั่มกำลังถูกศึกษาเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินการอักเสบและพังผืดในตับ รวมทั้งในอนาคตอาจมีการนำไมโครอาร์เอ็นเอมาใช้เป็นการรักษาใหม่สำหรับโรคตับคั่งไขมัน.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.2.7
First Page
165
Last Page
180
Recommended Citation
เมืองไพศาล, พุทธ and ตรีประเสริฐสุข, สมบัติ
(2015)
"ไมโครอาร์เอ็นเอกับโรคตับคั่งไขมัน,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
2, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss2/7