Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ความอยากบุหรี่เป็นอาการอย่างหนึ่งของการติดบุหรี่ ซึ่งเกิดร่วมกับความไม่สุขสบาย ทั้งกายและใจ โดยมีการศึกษาพบว่าการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซิฟ สามารถช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลลงได้ จึงมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในการรักษาโรควิตกกังวลร่วมกับการใช้ยา อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการศึกษาผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซิฟ ต่อความอยากบุหรี่ มาก่อนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซิฟต่อความอยากบุหรี่ในผู้ที่ติดบุหรี่รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลองเปรียบเทียบก่อนหลังสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ติดบุหรี่จำนวน 17 คน ที่หยุดบุหรี่มานานอย่างน้อย 3 ชั่วโมง โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและการใช้บุหรี่โดยใช้แบบสัมภาษณ์Semi-Structured Assessment for Drug Dependence andAlcoholism (SSADDA) ฉบับภาษาไทย 2) แบบทดสอบความอยากเสพสารฉบับภาษาไทยดัดแปลงจาก Pen Alcohol Craving Scale(PACS) 3) แบบวัดความรู้สึก Visual Analog Scale (VAS) 4) เครื่องวัดระดับสัญญาณชีพอัตโนมัติ โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความอยากสูบบุหรี่และความรู้สึกด้านอื่น รวมถึงระดับสัญญาณชีพ เปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซิฟ โดยใช้เทปเสียงมาตรฐานที่พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ด้วยสถิติpaired-samples t test และ Wilcoxon signed-rank test โดยทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2555ผลการศึกษา : พบว่าความอยากสูบบุหรี่ ทั้งจากแบบสอบถาม PACS และ VASความรู้สึกถูกกระตุ้น ความรู้สึกกังวล ความรู้สึกหิว ความรู้สึกแย่ และความดันทั้งซิสโตลิค และไดแอสโตลิค มีระดับลดลงหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซีพ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่p < 0.05สรุป : การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซิฟ ช่วยลดความอยากบุหรี่ ในผู้ที่ติดบุหรี่ได้ อาจนำเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อนี้ ไปใช้เสริมการรักษาการติดบุหรี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และควรทำการศึกษา.ต่อเนื่อง โดยมีการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.2.11
First Page
219
Last Page
233
Recommended Citation
ลิมป์สานนท์, ทัศนีย์ and กัลยาศิริ, รัศมน
(2015)
"ผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซีฟต่อความอยากบุหรี่ในผู้ที่ติดบุหรี,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
2, Article 11.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.2.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss2/11