Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาผลของการสนับสนุนด้านข้อมูล และอารมณ์ต่อความวิตกกังวลที่ผ่านมาเป็นการศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะของโรคสมองเฉียบพลันยังไม่มีการศึกษาผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะของโรคสมองเรื้อรังเช่น ผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมองซึ่งจะทำให้ทราบผลของค้นหาแนวทางในการช่วยเหลือต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อความวิตกกังวลของ ผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมองรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมอง ที่มาเยี่ยมและดูแลผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยธนาคารกรุงเทพ ชั้น 2 หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท 1ตึก สก. 8 และหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท 2 ธนาคารกรุงเทพชั้น 2 จำนวน 24 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 ราย และกลุ่มควบคุม12 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และใช้แบบสอบถามความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์และคณะ ประเมินความวิตกกังวลแฝงและความวิตกกังวลขณะเผชิญสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติ chisquare การแจกแจงแบบไฮเปอร์ยีออเมตริก, สถิติ non-parametricแบบ Mann - Whitney U test, non - parametric แบบ Wilcoxon,ANCOVAผลการศึกษา : การศึกษาในครั้งนี้พบว่าความวิตกกังวลขณะเผชิญ และความวิตกกังวลแฝงของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้การประเมิน STAI from Y-1ในวันที่ 1 และ วันที่ 3 ก่อนได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูล และอารมณ์ทั้งสองกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หลังทำการทดลองความวิตกกังวลขณะเผชิญหลังได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูล และอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมองในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าคะแนนรวมของความวิตกกังวลแฝงหลังได้รับการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันสรุป : การให้การสนับสนุนด้านข้อมูลร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์ด้วยการสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ และเกิดความมั่นใจการพูดคุยใช้คำถามปลายเปิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความวิตกกังวลในกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มลดลง ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับบุคคลในสถานการณ์ทั่ว ๆ ไป เกิดอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานานจนเป็นลักษณะนิสัยประจำตัว หรือเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ และจะเป็นตัวเพิ่มหรือเสริมความรุนแรงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.1.8
First Page
91
Last Page
101
Recommended Citation
บูรณศรีกุล, วิจิตรา and เหล่ารุจิสวัสดิ์, ภุชงค์
(2015)
"ผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมอง,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
1, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss1/8