•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

โรคมะเร็งตับ เป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก แม้ว่าจะในปัจจุบันจะมีการพัฒนาระบบการคัดกรองมะเร็งที่ใช้อย่างแพร่หลายขึ้นมาเพื่อตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก แต่พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังได้รับการวินิจฉัยในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ถ้าจัดแบ่งมะเร็งตามระยะโดยใช้เกณฑ์ของBarcelona Clinic Liver Cancer (BCLC) แล้ว มะเร็งตับระยะลุกลามหมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการจากมะเร็ง มีมะเร็งลุกลามไปที่เส้นเลือด มีมะเร็งแพร่กระจายออกจากตับ เช่น ไปที่ต่อมน้ำเหลืองซึ่งพบว่าผู้ป่วยมะเร็งในระยะนี้มีพยากรณ์โรคที่ไม่ค่อยดีนัก โดยมีค่ามัธยฐานของอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 3 - 6 เดือนถ้าไม่ได้รับการรักษา ปัจจุบันมีวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามด้วยวิธีที่ไม่ใช้การผ่าตัดอยู่หลายวิธี เช่น การใช้ยาต้านมะเร็งในกลุ่ม molecular targeted therapy เช่น Sorafenibซึ่งออกฤทธิ์ผ่านทางกลไก multikinase inhibitors ที่มีหลักฐานสนับสนุนถึงประโยชน์จากการใช้ยามากที่สุดโดยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลาม กลไกในการเกิดและการพัฒนาของมะเร็งตับนั้นซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลหลายตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง จึงนำไปสู่การศึกษาของยาในกลุ่มนี้อีกมากมาย นอกจากยากลุ่มนี้แล้วการรักษาอื่นที่มีข้อมูลในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามได้แก่การฉายแสงทั้งจากภายนอก (External beam radiation) หรือการใช้ 90Yittriumซึ่งได้มีการพัฒนามาใช้ไม่นานนี้และมีข้อมูลการศึกษามากในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดพอร์ทัลอุดตัน (portalvein thrombosis) การทำ transarterial embolization, การใช้ drug-eluting-bead หรือการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งในแต่ละวิธีการรักษานั้นมีข้อมูลสนับสนุนต่าง ๆ กันไป โดยบทความนี้จะทบทวนหลักฐานทางการศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามด้วยวิธีที่ไม่ใช้การผ่าตัด.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.1.5

First Page

47

Last Page

61

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.