Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : วัยรุ่นตั้งครรภ์ควรสามารถสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและทารกในครรภ์ ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงจะมีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคงพึงพอใจตนเองรับรู้ และยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพร้อมที่จะเผชิญปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ และสังคมสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อจะได้นำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นตั้งครรภ์แรกวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองรูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยแบบสำรวจภาคตัดขวางสถานที่ทำการศึกษา : จังหวัดอุบลราชธานีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 รายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Random Sampling) จากวัยรุ่นตั้งครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก (Rosenberg, 1965) มีค่าความเชื่อมั่นดังนี้ การดูแลตนเอง 0.73 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.99 และการสนับสนุนทางสังคม 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) การทดสอบไคสแควร์(Chi-square test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’sProduct Moment Correlation Coefficient)ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 17 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.9 อายุต่ำสุด 13 ปีร้อยละ10.4 อาชีพรับจ้างมากที่สุดร้อยละ 41.4 ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ <12 สัปดาห์มากที่สุดร้อยละ 49.3 มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 70.9 รองลงมาต่ำและสูงร้อยละ 16.0 และ 13.1 ตามลำดับ อายุครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.05) อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง(r = -0.137) และการดูแลตนเองโดยรวม (r = 0.128) ด้านรักษาสุขภาพจิต (r = 0.167) การสนับสนุนทางสังคมด้านวัตถุสิ่งของ(r = 0.194) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ส่วนระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (p >0.05)สรุป : หน่วยบริการการฝากครรภ์ควรส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในการฝากครรภ์และพัฒนาวิธีจัดการรักษาความรู้สึกนับถือตนเอง เพื่อให้วัยรุ่นตั้งครรภ์แรกมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระดับสูงเพิ่มชึ้น.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.58.6.10
First Page
683
Last Page
696
Recommended Citation
ช่วยทอง, พูนสุข; นามกร, บังอร; คฤหเดช, เปรมวดี; and เชื้อวณิชชากร, สุรางค์
(2014)
"ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 58:
Iss.
6, Article 10.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.58.6.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol58/iss6/10