•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ เป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุที่พักในสถานบริการที่พักทั้งรัฐและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาประเด็นดังกล่าวครอบคลุมทั้ง 3 ด้านวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการวิจัย : บ้านพักคนชราบ้านบางแค 1 สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม, บ้านบางแค 2 สังกัดกรุงเทพมหานคร และผู้สูงอายุที่อาศัยในสถานที่พักเอกชนใน 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้สูงอายุจำนวน 295 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, แบบวัดความว้าเหว่ และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้โปรแกรม SPSS version 17 วิเคราะห์ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ไครสแควร์เทส, ทีเทส, ค่าสหสัมพันธ์และสถิติถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.5 อายุเฉลี่ย78.43 (± 8.3) ปี พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ57.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศหญิง,สถานภาพหม้ายหรือโสด, ไม่ได้รับการศึกษา, ไม่มีรายได้, ไม่มีญาติมาเยี่ยม, มีความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลประจำไม่ดี,มีความพึงพอใจระดับต่ำต่อที่พักอาศัย และความใส่ใจของเจ้าหน้าที่,มีการเข้าร่วมกิจกรรมด้านอาชีวบำบัด และกิจกรรมด้านสุขภาพน้อยครั้งเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะว้าเหว่ที่สูงและการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ และผลการวิเคราะห์สถิติถดถอยลอจิสติกพบว่าการไม่ได้รับการศึกษา,การไม่มีญาติมาเยี่ยม, ความพึงพอใจต่อที่พักในระดับต่ำ, ภาวะความว้าเหว่ระดับปานกลางถึง สูง เป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าสรุป : ผลการวิจัยพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า และทราบถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ การคัดกรองและการรักษาภาวะซึมเศร้ารวมถึงการดูแลด้านจิตสังคม เช่น การลดความว้าเหว่, การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง และการเพิ่มระดับความพึงพอใจต่อที่พักอาศัยมีส่วนช่วยด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์และที่พักผู้สูงอายุ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.58.5.7

First Page

545

Last Page

561

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.