
Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ความต้องการทางปัญญาเป็นแนวโน้มที่บุคคลจะชอบและทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด เนื่องด้วยเป็นปัจจัยในตัวบุคคลก็น่าสนใจว่านิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความต้องการทางปัญญาเป็นอย่างไร และปัจจัยใดบ้างมีผลต่อความต้องการทางปัญญาเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการค้นหาแนวทางส่งเสริมความสามารถของนิสิตต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินระดับความต้องการทางปัญญาและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการทางปัญญาของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 840 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั่วไปและแบบวัดความต้องการทางปัญญาวิเคราะห์ระดับความต้องการทางปัญญาใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยใช้ t-test, One-way ANOVA และMultiple LinearRegression Analysisผลการศึกษา : นิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความต้องการทางปัญญาอยู่ในระดับสูง โดยเพศชายมีความต้องการทางปัญญามากกว่าเพศหญิง (B = -1.39, p = .001, 95%CI= -2.20, -.58)กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อคะแนนความต้องการทางปัญญาในเชิงบวกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (B = 2.201, p = <.001, 95%CI = 1.22, 3.18) และเกรดเฉลี่ยก็มีอิทธิพลต่อความต้องการทางปัญญาในเชิงบวกใกล้ระดับมีนัยสำคัญทางสถิติ (B =.601, p = .056, 95%CI = .02, 1.22)สรุป : นิสิตมีความต้องการทางปัญญาในระดับสูง และปัจจัยที่สามารถทำนายความต้องการทางปัญญา ได้แก่ เพศ กลุ่มคณะที่กำลังศึกษาอยู่ และเกรดเฉลี่ย.
Publisher
Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
First Page
525
Last Page
535
Recommended Citation
อัศยาพร, ปวัญรัตน์ and นิ่มนวล, ชัยชนะ
(2014)
"ความต้องการทางปัญญาของนิสิตชั้นปีที่ 1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 58:
Iss.
5, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol58/iss5/5