Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ความต้องการทางปัญญาเป็นแนวโน้มที่บุคคลจะชอบและทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด เนื่องด้วยเป็นปัจจัยในตัวบุคคลก็น่าสนใจว่านิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความต้องการทางปัญญาเป็นอย่างไร และปัจจัยใดบ้างมีผลต่อความต้องการทางปัญญาเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการค้นหาแนวทางส่งเสริมความสามารถของนิสิตต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินระดับความต้องการทางปัญญาและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการทางปัญญาของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 840 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั่วไปและแบบวัดความต้องการทางปัญญาวิเคราะห์ระดับความต้องการทางปัญญาใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยใช้ t-test, One-way ANOVA และMultiple LinearRegression Analysisผลการศึกษา : นิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความต้องการทางปัญญาอยู่ในระดับสูง โดยเพศชายมีความต้องการทางปัญญามากกว่าเพศหญิง (B = -1.39, p = .001, 95%CI= -2.20, -.58)กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อคะแนนความต้องการทางปัญญาในเชิงบวกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (B = 2.201, p = <.001, 95%CI = 1.22, 3.18) และเกรดเฉลี่ยก็มีอิทธิพลต่อความต้องการทางปัญญาในเชิงบวกใกล้ระดับมีนัยสำคัญทางสถิติ (B =.601, p = .056, 95%CI = .02, 1.22)สรุป : นิสิตมีความต้องการทางปัญญาในระดับสูง และปัจจัยที่สามารถทำนายความต้องการทางปัญญา ได้แก่ เพศ กลุ่มคณะที่กำลังศึกษาอยู่ และเกรดเฉลี่ย.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.58.5.5
First Page
525
Last Page
535
Recommended Citation
อัศยาพร, ปวัญรัตน์ and นิ่มนวล, ชัยชนะ
(2014)
"ความต้องการทางปัญญาของนิสิตชั้นปีที่ 1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 58:
Iss.
5, Article 5.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.58.5.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol58/iss5/5