•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การปรับตัวในมหาวิทยาลัยเป็นการปรับตัวช่วงหนึ่งที่มีความสำคัญของวัยรุ่น แต่การศึกษาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังมีค่อนข้างน้อย และการศึกษาในอดีตจะเป็นการศึกษากับนิสิตทุกคณะ การศึกษาครั้งนี้อาจจะเป็นข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือพัฒนาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ประชากรตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา2556 จำนวน 247 คน เครื่องมือของการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินการปรับตัวในมหาวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, Pearsoncorrelation, Spearman’s rhocorrelation, independent samplest - test, one way ANOVA, และ regression analysis.ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่านิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ส่วนใหญ่มีการปรับตัวโดยรวม การปรับตัวด้านการเรียน การปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์ และการปรับตัวด้านสังคม ระดับปานกลางค่อนข้างดี และการปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษาและความมุ่งมั่นในเป้าหมายระดับดี ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำนายการปรับตัวในมหาวิทยาลัยคือ อายุ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัย โดยพบว่าการปรับตัวโดยรวมมีปัจจัยในการทำนาย คือ การทำกิจกรรมในระดับมาก(p = 0.001) การทำกิจกรรมในระดับปานกลาง (p = 0.018) อายุ(p = 0.040) และผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(p = 0.048) การปรับตัวด้านการเรียนมีปัจจัยทำนาย คือ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (p = 0.026) การปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์มีปัจจัยทำนาย คือ อายุ (p = 0.010) การปรับตัวด้านสังคมมีปัจจัยในการทำนาย คือ การทำกิจกรรมในระดับมาก(p <0.001) การทำกิจกรรมในระดับปานกลาง (p = 0.004) และอายุ(p = 0.029) และการปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษา และความมุ่งมั่นในเป้าหมายมีปัจจัยในการทำนาย คือ การทำกิจกรรมในระดับมาก (p = 0.003) และการทำกิจกรรมในระดับปานกลาง(p = 0.032)สรุป : นิสิตส่วนใหญ่มีการปรับตัวในมหาวิทยาลัยโดยรวม การปรับตัวด้านการเรียน ด้านส่วนตัวและอารมณ์ และด้านสังคม ระดับปานกลางค่อนข้างดี และการปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษาและความมุ่งมั่นในเป้าหมายระดับดี ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในมหาวิทยาลัย คือ อายุ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัย ผลการศึกษานี้อาจจะนำไปใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรมในการพัฒนาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อไป.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.58.4.8

First Page

457

Last Page

469

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.