Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุและกระทบต่อผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันหรือหน้าที่การงาน ซึ่งผลกระทบนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลงวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจากโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : แผนกออร์โธปิดิกส์และแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจำนวน 290 คนโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยแบบสอบถามด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และอาการปวดหลัง และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย(WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับคุณภาพชีวิตด้วยIndependent – Samples t-test และ One – Way ANOVA และMultiple Linear Regression Analysis สำหรับหาปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังผลการศึกษา : ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 93.4 ยิ่งจำนวนการสูญเสียหน้าที่หลายด้านยิ่งมีคุณภาพชีวิตต่ำ (B = -2.199,p <.001, 95% CI = -3.183 ถึง -1.214) พบว่าเพศชายมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าเพศหญิง (B = -2.818, p = 0.002, 95% CI = -4.612ถึง -1.024) สถานภาพทางเศรษฐกิจพอใช้และเหลือเก็บมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับไม่พอใช้ (B = -5.322, p = 0.008, 95%CI = -9.219 ถึง -1.426) ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว (B = -2.461, p = 0.014, 95%CI = -4.419 ถึง -0.503) ผู้ป่วยที่มีระดับความปวดโดยเฉลี่ยใน2 สัปดาห์ 0 - 5 มีคุณภาพชีวิตสูงกว่าระดับความปวด 6 - 10(B = -1.137, p = 0.190, 95% CI = -2.843 ถึง 0.568) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ดังนั้น การค้นหาและปรับปรุงปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตสามารถเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.58.4.5
First Page
419
Last Page
431
Recommended Citation
เลิศทองไทย, จันทรรัตน์ and นิ่มนวล, ชัยชนะ
(2014)
"คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจากโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 58:
Iss.
4, Article 5.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.58.4.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol58/iss4/5