•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : สัตว์บำบัดนับเป็นศาสตร์ใหม่ในวงการแพทย์ทางเลือกของไทยเนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดกับมนุษย์และเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถมอบความรักให้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข จึงสอดคล้องกับความต้องการของเด็กกำพร้า จึงอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะเป็นส่วนช่วยเหลือหรือพัฒนาจิตใจของเด็กกำพร้าให้มีความเข้มแข็ง เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่ซึมเศร้า และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดด้วยกระต่ายที่มีต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง, ภาวะซึมเศร้า และความสุขของเด็กกำพร้ารูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (RandomizedControlled Trial; RCT) ระหว่างประชากร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงเวลาก่อนและหลังที่ประชากรจะได้รับการรักษาโดยการใช้กระต่ายช่วยบำบัดสถานที่ทำการศึกษา : สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : แบ่งกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน อายุ 12 - 15 ปี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการบำบัดด้วยกระต่าย จำนวน 10 กิจกรรมเป็นเวลา5 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ การศึกษานี้ใช้แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็ก และแบบวัดความสุข โดยศึกษาระยะก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ความแตกต่างของอายุ คะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง คะแนนภาวะซึมเศร้าและคะแนนความสุขของทั้งสองกลุ่มในระยะก่อนการทดลองด้วยสถิติindependent sample t-test และโปรแกรม Stata SE 11.0 วิเคราะห์ผลของกิจกรรมการบำบัดด้วยกระต่ายในระยะก่อนการบำบัด หลังการบำบัด และระยะติดตามผล 1 เดือน ด้วยสถิติ Generalized EstimatingEquations (GEE)ผลการศึกษา : ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดด้วยกระต่าย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และความสุขไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p - value เท่ากับ 0.494, 0.722และ 0.288 ตามลำดับ แต่ภายหลังการได้รับกิจกรรมการบำบัด พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น คะแนนภาวะซึมเศร้าลดลง และคะแนนความสุขเพิ่มขึ้น คือค่า p - value เท่ากับ0.514, 0.001 และ 0.003 ตามลำดับ ดังนั้นกลุ่มทดลองหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการบำบัดด้วยกระต่าย มีคะแนนภาวะซึมเศร้าลดลงและคะแนนความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ซึ่งขนาดอิทธิพล (effect size) ของโปรแกรมบำบัดมีผลต่อภาวะซึมเศร้าปานกลางต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและมีผลเล็กน้อยต่อความสุขสรุป : สัตว์บำบัดมีผลต่อการลดระดับภาวะซึมเศร้าและช่วยเพิ่มความสุขแก่เด็กกำพร้าอาจนำกิจกรรมสัตว์บำบัดนี้ไปเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลางเพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วยลดอาการซึมเศร้า หรือสามารถนำไปเป็นกิจกรรมเสริม หรืองานอดิเรกเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.58.2.9

First Page

211

Last Page

221

Plum Print visual indicator of research metrics
PlumX Metrics
  • Usage
    • Downloads: 1010
    • Abstract Views: 523
  • Captures
    • Readers: 2
see details

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.