Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : การนำกระต่ายช่วยในการบำบัดเป็นหนึ่งในการนำสัตว์ช่วยการบำบัดที่เป็นศาสตร์แพทย์ทางเลือกของวงการแพทย์ไทย เนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดกับมนุษย์และเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถมอบความรักให้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข จึงสอดคล้องกับความต้องการของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรม จึงอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะเป็นส่วนช่วยเหลือหรือพัฒนาจิตใจของที่ถูกกระทำทารุณกรรมให้ เห็นคุณค่าในตนเอง ลดภาวะซึมเศร้า และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการนำกระต่ายมาช่วยในการบำบัดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และความสุขของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลองสถานที่ทำการศึกษา : สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก จังหวัดลำปางตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมทางเพศ ร่างกายและจิตใจ อายุ 13 - 18 ปี จำนวน 22 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 11 คน โดยให้กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมกระต่ายช่วยบำบัดเป็นระยะเวลา 5 วัน ทั้งหมด 10 กิจกรรม และกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันปกติ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และประเมินความสุขผลการศึกษา : เด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมในกลุ่มทดลองมีคะแนนเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น ภาวะซึมเศร้าลดลง และความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมกระต่ายบำบัด อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : ผลการวิจัยพบว่าผลของการใช้กระต่ายบำบัด ทำให้ค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้าและความสุข ระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.58.2.7
First Page
185
Last Page
197
Recommended Citation
ตันติพิสิฐกุล, แก้วกุล and พิทยรัตน์เสถียร, ณัทธร
(2014)
"ผลของการใช้กระต่ายช่วยบำบัดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้าและความสุขของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรม,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 58:
Iss.
2, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.58.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol58/iss2/7