Abstract
Iodinated contrast media ถูกใช้ในปริมาณที่มากขึ้นตามการเติบโต และขยายตัวอย่าง รวดเร็วของการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัย โดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เรียนรู้ผลข้างเคียงจากการใช้ iodinated contrast media มากขึ้น ผลข้างเคียง โดยรวมพบได้ 5 - 8 เปอร์เซ็นต์ และมีน้อยกว่า 0.1 เปอร์เซ็นต์ ที่มีอันตรายถึงชีวิต ผลข้างเคียงแบ่ง ได้ว่า เป็นผลข้างเคียงต่อไตหรือต่ออวัยวะอื่น ๆ หรืออาจจะแบ่งเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบล่าช้า การประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงรวมถึงการจัดการและการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้อย่างถูกต้อง และทันท่วง ทีเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นหน้าที่สำหรับรังสีแพทย์และทีม ซึ่งรวมถึงแพทย์เจ้าของไข้ แพทย์ประจำบ้าน พยาบาล นักรังสีการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ธุรการที่ทำหน้าที่นัดผู้ป่วย บทความพิเศษเกี่ยวกับแนวทาง ปฏิบัติทางด้านคลินิคสำหรับการฉีด contrast media ฉบับนี้ เกิดจากการรวบรวมทบทวนบทความ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้สรุปแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการและป้องกันผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่จะเกิด จากการใช้ iodinated contrast media.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.54.4.8
First Page
375
Last Page
390
Recommended Citation
Chaopathomkul, B; Ruxrungtham, K; Leelanukrom, R; Avihingsanon, Y; Khovidhunkit, W; Sunthornyothin, S; Rojvachiranonda, N; and Opanuraks, J.
(2010)
"Clinical practice guideline for contrast media administration in diagnostic imaging,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 54:
Iss.
4, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.54.4.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol54/iss4/8