Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต วิธีจัดการกับปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในบุตรวัยรุ่นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มตัวอย่าง : บุตรวัยรุ่นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 61 คนระเบียบวิธีการวิจัย : โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต คนไทยฉบับสั้น (TMHI-15 ) และแบบสอบถามวิธีจัดการกับปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS ที่ระดับนัยสำคัญ P<.05ผลการศึกษา : 1) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับดีเท่ากับค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป (ร้อยละ 39.3) 2) วิธีจัดการกับปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้บ่อยมากที่สุด ได้แก่ การนอนหลับ (ร้อยละ 80.3)วิธีที่เลือกใช้บ่อยน้อยที่สุด ได้แก่ ไปหาผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาอื่น ๆเช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา (ร้อยละ 93.4) 3) ส่วนวิธีจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคะแนนสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น การวาดฝันถึงสิ่งอยากจะให้มี อยากจะให้เป็น และการพยายามใช้เหตุผลและพูดคุยประนีประนอมกับบิดามารดา เป็นต้น 4) ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคะแนนสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น คะแนนเฉลี่ยสะสม ระดับการศึกษาของบิดา บุคคลที่ปรึกษาเมื่อมีเรื่องที่ไม่สบายใจ ความสัมพันธ์กับบิดาความสัมพันธ์กับมารดา การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว จำนวนเพื่อนสนิทและความสัมพันธ์โดยรวมกับเพื่อน ๆผลสรุป : บุตรวัยรุ่นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มีมีภาวะสุขภาพจิตเท่ากับค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป จึงควรมีการสนับสนุน ปัจจัยและวิธีจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพจิตดีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นที่มีบิดามารดาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประสบความสำเร็จ.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.54.3.10
First Page
289
Last Page
299
Recommended Citation
Prownebon, J and Trangkasombat, U.
(2010)
"Mental Health and Coping Styles among adolescent offsprings of patients with depressive disorders,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 54:
Iss.
3, Article 10.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.54.3.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol54/iss3/10