Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Assessment of coagulation activation using thrombin generation assay in newly diagnosed acute myeloid leukemia
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
นภชาญ เอื้อประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1493
Abstract
ที่มาและความสำคัญ : ผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยาพบความผิดปกติของการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดได้บ่อย ทำให้เกิดปัญหาเลือดออกง่ายผิดปกติ หรือเลือดแข็งตัวผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการกระตุ้นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติจากเซลล์มะเร็งเอง หรือเกิดจากการรักษาโดยยาเคมีบำบัด ซึ่งจากความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ได้ วิธีการดำเนินงานวิจัย : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย AML รายใหม่ทุกรายจะได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจ thrombin generation assay และค่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดต่างๆ ได้แก่ PT, aPTT, vWFAg, TFAg, D-dimer และคำนวณ DIC score และจะติดตามผลต่างๆระหว่างการรักษาจนจบการรักษา โดยมีการเปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่อยู่ในช่วงอายุเดียวกัน Results: การศึกษานี้เริ่มทำการศึกษาผู้ป่วยตั้งแต่ มี.ค. 2562 ถึง เม.ย. 2563 พบผู้ป่วย AML 32 ราย ไม่พบความแตกต่างกันของค่า thrombin generation assay ของกลุ่มผู้ป่วยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เช่นเดียวกับค่า fibrinogen ที่ไม่พบความแตกต่างกันในสองกลุ่ม ค่า d-dimer และ TFAg มีค่าสูงกว่าในกลุ่มผู้ป่วย AML เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยยะสำคัญ พบผู้ป่วย 9 รายจาก 32 รายได้รับการวินิจฉัย overt disseminated intravascular coagulation (DIC) จากค่า ISTH-DIC score. เมื่อติดตามผู้ป่วยหลังจากการรักษาวันที่ 7, 30, 180 ตามลำดับ พบว่าค่า d-dimer ค่อยๆ ลดต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญตามระยะเวลาของการรักษา ผู้ป่วย 13 ราย (ร้อยละ 40) มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ณ ช่วงเวลาที่ได้รับการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามไม่พบแตกต่างของค่า endogenous thrombin potential และ peak thrombin generation ในกลุ่มที่มีเลือดออกผิดปกติและกลุ่มที่ไม่มีเลือดออก โดยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีเลือดออกมีค่ามัธยฐานของเกล็ดเลือดที่ต่ำว่ากลุ่มที่ไม่มีเลือดออก ในขณะที่ค่า d-dimer สูงกว่าในกลุ่มที่มีเลือดออกด้วยเช่นกัน โดยบริเวณที่เกิดเลือดออกในผู้ป่วยกลุ่มนี้มากที่สุดได้แก่ ในช่องปากและเหงือก ในการศึกษานี้ไม่พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะลิ่มเลือดอุดตัน สรุปผล : ไม่พบความผิดปกติของ thrombin generation assay ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วย AML มีค่า d-dimer ที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีแนวโน้มลดต่ำลงหลังได้รับการรักษา ซึ่งอาจสัมพันธ์กับภาวะ DIC
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Hematologic malignancies have increased the risk of bleeding and thromboembolism, which may connect to underlying diseases or therapeutic interventions. Hypothetically, dysregulated coagulation activation may underlie the pathogenesis of bleeding or thrombotic complications in acute myeloid leukemia (AML). Methods: Thrombin generation assay was performed in patients with newly diagnosed AML at diagnosis and longitudinally monitored at different points during follow-up. Prothrombin time, activated partial thromboplastin time, fibrinogen, D-dimer and tissue factor antigen were also determined. All values were compared to those of age-matched volunteers. Results: There were 32 newly diagnosed AML patients included in analysis between March 2019 and April 2020. At diagnosis, peak thrombin generation and endogenous thrombin potential values of AML patients were not different from those of the control. Fibrinogen levels showed no differences between both groups. D-dimer levels and TFAg were substantially increased in AML patients compared to control. Among 32 patients, 9 (28%) were diagnosed overt DIC following the ISTH-DIC score. No differences in thrombin generation assay were detected after the initiation of chemotherapy on day 7, 30 and 180 during follow-up. D-dimer is remarkably decreased during follow up. Of 13 (40%) with bleeding events at diagnosis, there were no differences in peak thrombin generation and endogenous thrombin potential values between bleeding and non-bleeding group. The lower platelet counts were found in the bleeding group, while D-dimer levels were higher in bleeding group. The most common event was gum bleeding. No patients experienced thromboembolism throughout follow-up. Conclusion: Thrombin generation assay failed to detect coagulation activation in newly diagnosed AML patients, while D-dimer was significantly increased in AML patients and considerably decreased after treatment, probably associated with DIC.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
น้อยนารถ, ภาวินี, "การศึกษาการกระตุ้นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์โดย thrombin generation assay" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9869.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9869