Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of physical literacy measurement instruments based on whitehead concept for upper primary school students
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
สุขศึกษาและพลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1419
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 3) สร้างเกณฑ์ปกติของความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2,880 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดรู้ทางกายมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้และความเข้าใจ (มี 4 ตัวบ่งชี้), แรงจูงใจ (มี 2 ตัวบ่งชี้), ความเชื่อมั่น (มี 1 ตัวบ่งชี้), และสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว (มี 8 ตัวบ่งชี้) และประกอบด้วย 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ, ความรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพทางกาย, ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย, ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองระหว่างประกอบกิจกรรมทางกาย, ความชอบในกิจกรรมทางกาย, ความสนุกในกิจกรรมทางกาย, ความสามารถของตนเองและเมื่อเทียบกับผู้อื่น, การวิ่งไปข้างหน้า, การกระโดดอยู่กับที่, การรับลูกเทนนิส, การขว้างลูกเทนนิส, การก้าวสลับเท้า, การกระโดดเขย่ง, การเลี้ยงลูกฟุตบอล, และการเตะลูกฟุตบอล 2) เครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายมี 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบสถานการณ์หลายตัวเลือก (วัดความรู้และความเข้าใจ), แบบวัดสถานการณ์หลายตัวเลือก (วัดแรงจูงใจ), แบบวัดสถานการณ์หลายตัวเลือก (วัดความเชื่อมั่น), และมาตรประมาณค่าแบบรูบริค (วัดสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว) ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือทั้ง 4 ฉบับเท่ากับ 0.76, 0.82, 0.75, และ 1.0 ตามลำดับ โมเดลการวัดความฉลาดรู้ทางกายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2(1) = 0.207, p = .649, CFI = 1.000, TLI = 1.000, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.002) โดยน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานของตัวบ่งชี้มีค่า 0.647, 0.591, 0.083, และ 0.149 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือทั้ง 4 ฉบับเท่ากับ 0.947, 0.938, 0.909, และ .781 ตามลำดับ 3) เกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐานทีของความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นเพศชายและหญิง, อายุ 10 – 11 ปี และ 12 ปี ประกอบด้วย เกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐานทีของความฉลาดรู้ทางกาย และเกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐานทีของความฉลาดรู้ทางกายรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้และความเข้าใจ, ด้านแรงจูงใจ, ด้านความเชื่อมั่น, และด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were: 1) to synthesize the components and indicators of physical literacy in accordance with the Whitehead concept for upper primary school students, 2) to develop and examine the quality of physical literacy measurement instruments based on the Whitehead concept for upper primary school students, and 3) to establish the norm criteria for physical literacy based on Whitehead concept for upper primary school students. The sample of this study was 2,880 upper primary school students selected by simple random sampling. Analyze the Structural Equation Modeling and Confirmatory factor analysis with Mplus. The research findings were as follows: 1) Physical literacy consists of 4 components which are knowledge and understanding (with 4 indicators), motivation (with 2 indicators), confidence (with 1 indicator), and physical competence (with 8 indicators). And comprised of 15 indicators such as health knowledge, knowledge of physical fitness, knowledge of physical activities, and knowledge of self-protection during physical activity, like in physical activities, fun In the physical activities, one's own ability and when compared to others, running, jumping, catching tennis balls, throwing tennis balls, skipping, hopping, dribbling a football, and football kicking. 2) Physical literacy measurement instruments, consisting of 4 versions, which are multiple-choice test (knowledge and understanding measurement), multiple-choice situation test (motivation measurement), multiple-choice situation test (confidence measurement), and the rubric gauge (physical competence measurement), the index of congruence of the overall instruments were 0.76, 0.82, 0.75, and 1 respectively. The Physical literacy model is consistent with the empirical data (2(1) = 0.207, p = .649, CFI = 1.000, TLI = 1.000, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.002) by composition weight in the standard scores form of the indicators were 0.647, 0.591, 0.083, and 0.149 respectively. The reliability of the overall instruments was 0.947, 0.938, 0.909 and 0.781 respectively. 3) T- score norm of physical literacy based on Whitehead concept for upper primary school students criteria divided into male and female, aged 10 - 11 years and 12 years, consists of T- score norm of physical literacy, and T- score norm of physical literacy in 4 areas, knowledge and understanding, motivation, confidence, and physical competence.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ลับไพรี, ก้องสยาม, "การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮด
สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9795.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9795