Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Quality of Sleep in Stroke Patients at Pramongkutklao Hospital
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1402
Abstract
Background : โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประชากรทั่วโลกผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดการพิการและยังเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและการใช้เครื่องมือ Wearable tracker ในการเก็บข้อมูลการนอนหลับของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Studies) ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross sectional descriptive design) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่มกราคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 จำนวน 66 คน โดยผู้วิจัยบันทึกข้อมูลแบบสอบถามจากผู้ป่วยในส่วนของข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการเจ็บป่วย หลังจากนั้นนําอุปกรณ์วัดระดับกิจกรรม Wearable tracker ใส่ให้ผู้ป่วยและทำแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ให้ครบถ้วนโดยใส่ตลอดเวลา นำเสนอข้อมูลคุณภาพการนอนหลับและการใช้เครื่องมือ Wearable tracker เป็นค่าคะแนน วิเคราะห์หาระดับความพึงพอใจของเครื่องมือ Wearable tracker และวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ร้อยละ 93.9 มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และร้อยละ 6.1 มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับปริญญาตรีขึ้นไป (p = 0.003) ซึ่งมีค่านัยสำคัญทางสถิติ P < 0.01 เวลาที่ผู้ป่วยได้เข้านอนทั้งหมด (p = 0.021) เวลาที่เข้านอน หลังจาก 00:00 น. (p = 0.014) เวลาที่ตื่นนอน 04:00 – 06:00 น. (p = 0.012) และเวลาที่หลับลึก (p = 0.039) มีนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 และปัจจัยด้านการเจ็บป่วย ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยมากกว่า 1 สัปดาห์ (p = 0.032) และการใช้ยา Antidiabetic (p = 0.024) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 และจากศึกษาการใช้เครื่องมือ Wearable tracker ในการเก็บข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่วัดได้จากอุปกรณ์วัดระดับกิจกรรม Wearable tracker ได้แก่ เวลานอนทั้งหมด (p = 0.032) เวลาที่เข้านอน มากกว่า 00.00 น. (p = 0.032) เวลาที่ตื่นนอน 04.00 - 06.00 น. P = 0.032) เวลาที่ตื่นนอน มากกว่า 06.00 น. (p = 0.032) และเวลาที่หลับลึก (p = 0.032) มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 สรุป ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ร้อยละ 93.9 มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการเจ็บป่วย นอกจากนั้นจากศึกษาการใช้เครื่องมือ Wearable tracker ในการเก็บข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่วัดได้จากอุปกรณ์วัดระดับกิจกรรม Wearable tracker ก็มีผลที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์วัดระดับกิจกรรม Wearable tracker สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการหาคุณภาพการนอนหลับได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Currently, stroke is one of a leading cause of death and serious long-term disability worldwide. One common side effect of stroke is a quality of sleep. Objective: To study the quality of sleep and the compatibility of wearable tracker tools in collecting sleep data of stroke patients. Methodology: This cross-sectional study with participation of 66 stroke patients in Phramongkutklao Hospital used structured questionnaires including demographic questions, sleep quality assessment (PSQI), and the satisfaction of Wearable tracker tool assessments. Each subject received a wearable tracker during this study to examine the sleep quality. Result: According to the PSQI assessment, most of patients with cerebrovascular disease had poor sleep quality (93.9%). Only 6.1% among them had good sleep quality. Factors related to sleep quality included level of education, sleep range, time to go bed time after 00:00, waking time during 04:00 - 06:00, and deep sleep time, duration of stroke suffering for more than 1 week, and use of Antidiabetic drugs. According to the use of wearable tracker tools, the results showed that sleep range, time to go to bed after 00:00, waking time during 04.00 - 06.00, waking time after 06.00 and deep sleep time could be measured by the tool. Conclusion: Most of stroke patients in Phramongkutklao Hospital had poor sleep quality. Some factors related to sleep quality included personal factors and illness factors. Concerning the wearable trackers tool showed that this tool could measure the activity levels accurately. These results could be applied to help develop a quality of sleep in stroke patients.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โลทะกะ, จิรัฏฐ์, "คุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9778.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9778