Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Arabica coffee silverskin extraction and biological activity assay
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
ณัฐพร โทณานนท์
Second Advisor
สรกนก วิมลมั่งคั่ง
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Chemical Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมเคมี)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมเคมี
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1185
Abstract
เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ เป็นของเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ในงานวิจัยนี้เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟถูกนำมาทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด ทำการศึกษาตัวแปร 3 ตัว ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการสกัด โดยใช้ น้ำ 50% เอทานอล และ 100% เอทานอล ศึกษาอุณหภูมิในช่วง 35 40 50 และ 60 ◦C เป็นเวลา 30 และ 60 นาที ในอัตราส่วนของแข็งต่อของเหลวที่ 1:25 g/ml โดยสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณสารสกัดแห้ง ปริมาณของสารประกอบฟีนอลิก อัตลักษณ์ของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟด้วยเทคนิค TLC การวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีน และกรดคลอโรจีนิกด้วยเครื่อง HPLC นอกจากนี้ยังทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus จากการทดลองพบว่า การสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟด้วยตัวทำละลาย 100% เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60 ◦C เป็นเวลา 30 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดมากที่สุด ได้ปริมาณสารสกัดแห้ง 6-7% ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (29.93 mg GAE/g สารสกัดแห้ง) ปริมาณคาเฟอีน (59.38 mg/g สารสกัดแห้ง) พบสารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus และยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH (IC50 = 0.28 mg/ml) ด้วยเหตุนี้สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีสีเขียวในการสกัด ทั้งนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ และทำให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระสูง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Coffee silverskin (CS) is a major by-product of the coffee roasting process which is a source of antioxidant compounds. In this research, CS is extracted to locate the optimum extraction condition as a function of three variables including the polarity of solvent (water, 50% ethanol and 100% ethanol), temperature (35, 40, 50, and 60 ◦C), and extraction time (30 and 60 minutes) by using solid/solvent ratio 1:25 g/ml. The extraction yield, phenolic content, the chemical fingerprint profile of the CS extract were evaluated using TLC, the contents of caffeine, and chlorogenic acid using HPLC. Furthermore, the biological activity including DPPH antioxidant activity and antimicrobial of S. aureus has also been investigated. The result demonstrated that the best condition for CS extraction is with 100% ethanol at 60 ◦C for 30 minutes. This condition resulted in the extraction yield of approximately 6-7%, the phenolic content (29.93 mg GAE/g extract), the caffeine content (59.38 mg/g extract). It could also inhibit bacteria growth and DPPH radical (IC50 = 0.28 mg/ml). For these reasons, the extracted CS has great potential to be applied for further use in the industrial sector due to the use of eco-friendly, safe, and cost-efficient extraction technology, as well as the high level of antioxidant activity embedded in the CS extract.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สิริวุฒิพันธ์, ชินธันย์, "การสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อราบิก้าและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9561.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9561