Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Approaches for developing secondary school management based on the concept of activity-based costing: a case study of Debsirin school

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

นันทรัตน์ เจริญกุล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.941

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารสำคัญของโรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) แผนปฏิบัติการโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปี 2558-2560 2) รายงานประจำปี 2558-2560 โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) งบเดือนประจำเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 รายการ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของผลผลิตและกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) แบบคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์จำแนกผลผลิตตามแผนการเรียน แบ่งออกเป็น 11 ผลผลิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 4 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนทั่วไป ผลผลิตแผนGifted ผลผลิตแผนEP และผลผลิตแผนMEP และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 7 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนวิทย์ทั่วไป ผลผลิตแผนวิทย์Gifted ผลผลิตแผนวิทย์IEP ผลผลิตแผนศิลป์คำนวณ ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาจีน ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาที่ 3 อื่น และผลผลิตแผนศิลป์ทั่วไป โดยที่ผลผลิตทุกผลผลิตจะต้องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ สามารถจัดประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมหลักทางตรง กิจกรรมหลักทางอ้อม และกิจกรรมสนับสนุน ซึ่งขั้นตอนการคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม สามารถดำเนินการได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดผลผลิตและกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) รวบรวมต้นทุนกิจกรรม 3) จำแนกต้นทุนกิจกรรมหลักทางตรงออกจากต้นทุนกิจกรรมเดิม 4) ปันส่วนต้นทุนกิจกรรมเข้าสู่ต้นทุนผลผลิต และ 5) รวบรวมต้นทุนผลผลิต แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ มี 3 แนวทางหลัก และ 22 แนวทางย่อย ดังนี้ 1) เพิ่มต้นทุนกิจกรรมหลักทางตรงของผลผลิตให้สูงขึ้น โดยการจัดกิจกรรมเสริมหรือใช้งบประมาณที่เหลือในการพัฒนาผลผลิต 2) ลดต้นทุนกิจกรรมหลักทางอ้อมและกิจกรรมสนับสนุนของผลผลิตให้ต่ำลง โดยการบูรณาการกิจกรรมให้ใช้งบประมาณร่วมกันหรือควบคุมการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผนงานและ 3) ลดต้นทุนผลผลิตให้ต่ำลง โดยการปรับโครงสร้างกิจกรรมตามหลักสูตรใหม่

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were: 1) to analyze the secondary school's Activity-Based Costing: a case study of Debsirin School and 2) to propose approaches for developing secondary school management based on the concept of ABC: a case study of Debsirin School. The mixed method research was used in this study. The used information is Debsirin School's important document consisted of; 1) Debsirin School's annual action plans 2015 - 2017 2) Debsirin School's annual reports 2015 - 2017 and 3) monthly statements from April 2015 - March 2018. The research instruments were 1) an appropriability of evaluation form of Debsirin's outputs and activities 2) the Debsirin School's ABC calculator and 3) an appropriability and possibility of evaluation form of a draft approaches for developing secondary school management based on ABC: a case study of Debsirin School. The data were analyzed by content analysis, mean, percentage, and mode. This study revealed that there were 11 Debsirin students' outputs. For lower secondary, 4 outputs were 1) Regular Program 2) Gifted Science and Mathematics Program 3) English Program and 4) Mini English Program, and for upper secondary 7 outputs were from the programs of; 1) Science and Mathematics 2) Gifted Science and Mathematics 3) Intensive English Program 4) Arts-Mathematics and English 5) Arts-Chinese 6) Foreign Languages and 7) Arts-Physical Education. The Debsirin's outputs were needed to join the school's activities divided into 3 groups; 1) direct main activities 2) indirect main activities and 3) supporting activities. There were 5 steps of an ABC calculating process: 1) Providing Debsirin's outputs and activities; 2) Collecting each activity costing; 3) Separating the direct main activity costing out of whole activities costing; 4) Driving activities costing into outputs costing; and 5) Collecting outputs cost per head. There were 3 approaches and 22 sub-approaches: 1) Increase the direct main activities costing by providing more student’s activities or spend remaining budget onto outputs’ development; 2) Decrease the indirect main activities costing and supporting activities costing by integrating both activities and budget or control the spending as planned; and 3) Reduce the output costing by restructuring activities as in new curriculum.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.