Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The sterilisation of people with intellectual disabilities
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
สิพิม วิวัฒนวัฒนา
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.931
Abstract
การทำหมันเป็นการคุมกำเนิดที่ทำให้บุคคลสูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือการทำหมันในคนพิการทางสติปัญญาอาจเกิดขึ้นจากการบังคับ ชักจูง โน้มน้าว หรือวิธีอื่นใด โดยปราศจากความยินยอมของคนพิการทางสติปัญญา ซึ่งถือเป็นภัยที่คุกคามร้ายแรงและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตในอนาคตของคนพิการทางสติปัญญา ประเด็นกฎหมายที่เกิดขึ้น ได้แก่ การพิจารณาความสามารถของบุคคลที่พิการทางสติปัญญาในการให้ความยินยอมในการทำหมันซึ่งไม่อาจนำความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ได้ และการให้ความยินยอมในการทำหมันแทนโดยบุคคลอื่นนั้นเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ดขาดของบุคคลในการที่จะตัดสินใจให้ความยินยอมด้วยตนเองโดยอิสระ ไม่อาจมีบุคคลอื่นใดมีอำนาจหรือใช้หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรืออำนาจปกครองบุตรในการตัดสินใจทำหมันแทนคนพิการทางสติปัญญา จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการให้ความยินยอมในการทำหมันของคนพิการทางสติปัญญาในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนและไม่ได้ให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอ จึงควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายให้สอดคล้องกับประโยชน์สูงสุดของคนพิการทางสติปัญญาแต่ละบุคคลเมื่อศึกษาเปรียบเทียบในประเด็นทางกฎหมายกับประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศเยอรมนีพบว่า ทุกประเทศมีกระบวนการพิเศษสำหรับบุคคลที่ไม่มีความสามารถในการให้ความยินยอมเพื่อทำหมัน และกำหนดให้ศาลเป็นผู้พิจารณาประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่าควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการให้ความยินยอมในการทำหมันคนพิการทางสติปัญญาในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Sterilization is a birth control method that leads to biological inability to reproduce. One problem caused is that sterilization in intellectually disabled persons may be forced, coerced, persuaded, or done through other attempts without consent granted by intellectually disabled persons. This is deemed to be acutely threatening hazards that are risky to health and ways of life of the intellectually disabled persons in the future. A legal matter involved is consideration of abilities of an intellectually disabled person in granting consent to sterilization, the process in which the legal competence of a person to enter into a valid contract according to the Civil and Commercial Code cannot be employed. Furthermore, granting consent on behalf of another person is an issue that concerns absolute rights of the person in making a decision to grant consent independently. There shall be no one having authority or rights to exercise their duties as a child’s supporter or custodial parent through making a decision for sterilization on behalf of an intellectually disabled person. According to the study, it is found that the provisions related to a current process of granting consent to sterilization of the intellectually disabled persons are not explicitly stated and do not provide adequate protection. Therefore, legal standards should be ameliorated in alignment with the utmost interest of each intellectually disabled person.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พนาโยธากุล, พรพรรณ, "ปัญหาการทำหมันในคนพิการทางสติปัญญา" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9307.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9307