Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Female consumer's decision journeys of online food shop without store

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

พนม คลี่ฉายา

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.874

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์การซื้ออาหารทางออนไลน์และเส้นทางการตัดสินใจซื้ออาหารจากร้านค้าออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านของผู้บริโภคสตรีอายุ 20-39 ปี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 30 คน และการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า ประสบการณ์ซื้ออาหารคาวพร้อมรับประทานผ่านทางออนไลน์ของผู้บริโภคสตรีมีทั้งความรู้สึกดีและไม่ดี แต่ยังคงซื้อต่อไป ซึ่งเกิดขึ้นจากสินค้า การจัดการและการบริการ ทั้งนี้มีการยอมรับและเข้าใจรูปแบบการบริการแบบนี้ สำหรับเส้นทางการตัดสินใจซื้ออาหารจากร้านค้าออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านของผู้บริโภคสตรี เริ่มต้นเปิดการรับรู้เฉพาะที่ต้องการและตลอดเวลาผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ต่อมาใช้เกณฑ์พิจารณาเพื่อตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ภาพลักษณ์หน้าร้านค้า สินค้า ความรู้สึกตัวเอง เมื่อสนใจร้านใดแต่อาจจะยังตัดสินใจไม่ได้ จะเริ่มสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากร้านค้าและพูดคุยกับคนรอบตัว จากนั้นจะติดต่อร้านที่จะซื้อ หากได้รับการตอบรับที่รวดเร็วจากร้านค้า ได้คำตอบครบถ้วนในสิ่งที่ต้องการรู้ หรือมีความพึงพอใจในค่าส่ง จะตัดสินใจซื้อทันที หลังจากนั้นจะประเมินสินค้าอาหารที่ได้รับ การบริการและการจัดการของร้านค้า หากเกิดความประทับใจจะส่งต่อความรู้สึกที่ดีผ่านออนไลน์ บอกเล่าให้คนรอบตัวทางออฟไลน์ ในทางกลับกันหากไม่ประทับใจจะโพสต์ทางออนไลน์ บอกเล่าทางออฟไลน์เช่นกัน ข้อความสนับสนุนและข้อความด้านลบ จะเป็นข้อมูลบนเส้นทางการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสตรีรายอื่นในช่วงสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อ โดยสรุปประสบการณ์ที่ดีในการซื้ออาหารทางออนไลน์มีความเกี่ยวข้องทุกขั้นตอนของเส้นทางการตัดสินใจซื้ออาหารทางออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้าน สำหรับประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวข้องเพียงเฉพาะขั้นตอนการประเมินและการบอกต่อในด้านลบเท่านั้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This qualitative research aims to describe experience of online food buying and consumer’s decision journey of online food shop without store of female consumers who are 20-39 years old. Using an indepth interview from 30 women and focus groups of 2 groups, separated into 6 people each group. The results indicate that consumer experiences have both good and bad feeling which’re arose from products, management and services. But they still ongoing to purchase them. However, they thought these service fundamentals must be received and also understood this service type. Female consumer’s decision journeys of online food shop without store start with awareness via online and offline platforms. They set criteria for an appealing store which’re collected from home page, product and their feeling. Then ask more information from the store and their friends. If they get quick response, answer needed or satisfied delivery cost, they will act immeditely. Having good experience from evaluation stage will be advocated on online and telling their friends. Conversely, they will spread negative feedback as the same platforms. In conclusion, the good consumer experiences affected to female consumer’s decision journey of online food shop without store in all the stages. And the bad experiences related only evaluate stage and negative feedback stage.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.