Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

สำรวจกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์และความพร้อมในการเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Tanattha Kittisopee

Faculty/College

Faculty of Pharmaceutical Sciences (คณะเภสัชศาสตร์)

Department (if any)

Department of Social and Administrative Pharmacy (ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Social and Administrative Pharmacy

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.494

Abstract

Risky alcohol drinking is common in hospitalized patients. Early detecting risky alcohol drinkers in hospital is important to provide appropriate management of Alcohol withdrawal syndrome (AWS). This first aim of this study was to identify the extent to which patients admitted to a general hospital in Vietnam meet the criteria for risky alcohol drinker (RAD), alcohol use disorder (AUD), and alcohol withdrawal syndrome (AWS). The second aim was to identify predictors of intension to change and changing alcohol consumption using the Integrated Behavior Model as a conceptual framework. Design: A prospective survey was conducted in Kien An - a general hospital in the north of Vietnam during March-June 2018. To achieve the first objective, 1340 patients admitted to a general hospital was screened for risky alcohol drinkers, AUD and AWS. There were 314 from 2,168 patients admitted to the hospital were identified as risky alcohol drinkers for collecting data of the second objective. Patients who drank greater than the set limit for safe were classified as RADs. RADs who had the Alcohol Use Disorder Identification Test (AUDIT) score of 8 or more were identified as AUDs. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders version 5 was used as a criteria to diagnose AWS. The AWS scale was used to quantitate AWS severity level. Upon admission, there were 250 male and 1 female risky alcohol drinkers were interviewed using a designed questionnaire on their experiential and instrumental attitude toward changing alcohol consumption, descriptive and injunctive norm, perceived behavior control, alcohol dependent severity, intention to change alcohol consumption and alcohol consumption. A total of 176 and 115 RADs were follow-up for alcohol consumption using the first 3 question of AUDIT at 1 and 3 months after hospital discharge, respectively. The results found that prevalence of risky alcohol drinkers, AUD patients, AWS patients of hospitalized patients were 15.5%, 13.1%, and 7.3%, respectively. All the AUD and AWS patients were male. The majority of risky alcohol drinkers, AUD, AWS were found in the group of 40-60-year-old male. Multivariate multinomial logistic regression showed that instrumental attitude toward changing alcohol consumption had significant relationship with intention in both some and strong intention group comparing to no intention group (OR = 2.8 and 4.9, respectively). Only perceived behavior control had significant relationship with intention in strong intention group comparing to no intention group (OR = 2.1). Intention to act was the only influencing factor that significantly related to changing alcohol consumption (OR = 1.3 and 1.4 in some change and significant change group respectively comparing to no change group at 1 month; and OR = 1.2 and 1.5 in some change and significant change group respectively comparing to no change group at 3 months after discharging from the hospital). In conclusion, AUD and AWS were common in hospitalized patients. Setting up the protocol to identify AWS is urgent. Stronger beliefs about a positive outcome from changing alcohol consumption and more confidence over obstacles or environmental temptation correlated with higher patient intention to change. Intention to act is the strongest predictor of reduced alcohol consumption behavior. Patients were able to change their alcohol consumption after discharge from the hospital. A hospital stay and education of alcohol’s impact on health may motivate patients to change their alcohol consumption.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การดื่มสุราในระดับเสี่ยง พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล การตรวจหาผู้ป่วยที่ดื่มสุราในระดับเสี่ยงนี้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ มีความสำคัญอย่างมากในการให้การจัดการกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์แรกเพื่อดูปริมาณผู้ที่ดื่มสุราในระดับเสี่ยง ผู้ที่มีการดื่มสุราผิดปกติ และผู้ที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ วัตถุประสงค์ที่สองเพื่อหาตัวทำนายความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์โดยการใช้โดยใช้แบบจำลองพฤติกรรมบูรณาการ (Integrated Behavior Model) เป็นกรอบแนวคิดงานวิจัย งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในโรงพยาบาล Kien An ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปในตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แรก ทำการคัดกรองผู้ป่วย 1,340 คนที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อหาผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ผิดปกติ และผู้ที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ ผู้ป่วย 2,168 คนที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงจำนวน 314 คน ได้ถูกเก็บข้อมูลสำหรับวัตถุประสงค์ที่สอง ผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์เกินระดับความปลอดภัยถูกจัดให้เป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงที่มีคะแนนการทดสอบความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ (AUDIT) มากกว่า 8 จะถูกจัดให้เป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ผิดปกติ ในการวิเคราะห์หาผู้ที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ใช้เกณฑ์ในคู่มือสถิติและการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต รุ่นที่ 5 ระดับความรุนแรงจะขึ้นกับคะแนนที่ได้ ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงชาย 250 คน และ หญิง 1 คน ถูกสัมภาษณ์ ในช่วงที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นในการวัดทัศนคติอุปกรณ์และทัศนคติ ประสบการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ บรรทัดฐานเชิงพรรณนา บรรทัดฐานคำสั่ง การรับรู้พฤติกรรมการควบคุม ความรุนแรงในการติดแอลกอฮอล์ ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และการบริโภคแอลกอฮอล์ในอดีต และได้มีการติดตามข้อมูลการบริโภคแอลกอฮอล์ใน 1 และ 3 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล ได้มีการติดตามพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงจำนวน 176 คน และ 115 คน หลังออกจากโรงพยาบาล 1 และ 3 เดือน ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่าความชุกของผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยง ผู้ป่วยที่มีการดื่มสุราผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ เท่ากับ 15.5%, 13.1%, และ 7.3% ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีการดื่มสุราผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ ทั้งหมดเป็นผู้ชายอายุมีอายุอยู่ระหว่าง 40-60 ปี การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกหลายตัวแปรพบว่า ทัศนคติอุปกรณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มที่มีความตั้งใจบ้างและกลุ่มที่มีความตั้งใจบ้างและกลุ่มที่มีความตั้งใจมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีความตั้งใจ (OR เท่ากับ 2.8 และ 4.9 ตามลำดับ) มีเพียงการรับรู้พฤติกรรมการควบคุมเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่มีความตั้งใจมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีความตั้งใจ (OR เท่ากับ 2.1) ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญ (OR เท่ากับ 1.3 และ 1.4 ในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างและกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตามลำดับเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปลี่ยนแปลงหลังจากออกจากโรงพยาบาล 1 เดือน และ OR เท่ากับ 1.2 และ 1.5 ในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างและกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตามลำดับเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปลี่ยนแปลงหลังจากออกจากโรงพยาบาล 3 เดือน) โดยสรุปผู้ที่มีการดื่มสุราผิดปกติ และผู้ที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล การกำหนดแนวทางที่ใช้ในการระบุและดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์เป็นเรื่องเร่งด่วน ความเชื่อที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับผลลัพธ์ในเชิงบวกจากการเปลี่ยนแปลงการบริโภคสุรา และยิ่งผู้ป่วยมีความมั่นใจที่จะก้าวข้ามอุปสรรคหรือสิ่งแวดล้อมล่อใจมากขึ้น ก็จะมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์มากยิ่งขึ้น ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ก็จะยิ่งมีการลดการดื่มแอลกอฮอล์ การนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและการให้ความรู้ถึงผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพอาจจะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงการบริโภคแอลกอฮอล์ของตนได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.