Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลของสารสกัดจากขมิ้นชันต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผลในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกมนุษย์

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Supaporn Suttamanatwong

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Pediatric Dentistry (ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Pediatric Dentistry

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.394

Abstract

This study investigated the effect of curcumin on the expression of wound healing-related genes including transforming growth factor beta 1 (TGF-β1), transforming growth factor beta receptor type I (TGFβR I), transforming growth factor beta receptor type II (TGFβR II) and vascular endothelial growth factor (VEGF) in human gingival fibroblasts. The cytotoxicity of curcumin was determined by MTT assay. Then, cells were treated with non-cytotoxic concentrations of curcumin for 24 hours and the level of gene expression was determined by quantitative polymerase chain reaction (qPCR). Curcumin at 0.1-20 µM caused no significant change in cell viability while higher concentrations of curcumin (30 and 50 µM) are cytotoxic. Curcumin dose dependently increased the TGF-β1 expression while 1 µM curcumin is the optimal concentration for inducing TGFβR I, TGFβR II, and VEGF expression. However, no statistically significant difference was found in any of these inductions. In conclusion, curcumin may regulate the expression of genes involved in wound healing in human gingival fibroblasts but further investigation is needed.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษาผลของสารสกัดจากขมิ้นชัน (เคอร์คูมิน) ต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผลในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกมนุษย์ซึ่งได้แก่ ยีนทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟคเตอร์เบต้าชนิดที่ 1, ยีนทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟคเตอร์เบต้ารีเซปเตอร์ชนิดที่ 1, ยีนทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟคเตอร์เบต้ารีเซปเตอร์ชนิดที่ 2 และวาสคูลาร์เอนโดทีเลียลโกรทแฟคเตอร์ ความเป็นพิษของเคอร์คูมินถูกทดสอบด้วยวิธีเอ็มทีที จากนั้นทำการกระตุ้นเซลล์ด้วยเคอร์คูมินที่ความเข้มข้นต่างๆเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงและทำการตรวจสอบการแสดงออกของยีนด้วยวิธีควอนทิเททีฟพีซีอาร์ ผลการศึกษาพบว่าเคอร์คูมินที่ความเข้มข้น 0.1-20 ไมโครโมลาร์ไม่มีผลต่อการมีชีวิตของเซลล์ขณะที่ความเข้มข้นที่สูงขึ้น (30 และ 50 ไมโครโมลาร์) มีความเป็นพิษต่อเซลล์ เคอร์คูมินที่ 0.1-20 ไมโครโมลาร์กระตุ้นการแสดงออกของยีนทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟคเตอร์เบต้าชนิดที่ 1 ตามความเข้มข้นที่มากขึ้น ในขณะที่ความเข้มข้น 1 ไมโครโมลาร์เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการกระตุ้นการแสดงออกของยีนทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟคเตอร์เบต้ารีเซปเตอร์ชนิดที่ 1, ยีนทรานสฟอร์มมิ่งโกรทแฟคเตอร์เบต้ารีเซปเตอร์ชนิดที่ 2 และวาสคูลาร์เอนโดทีเลียลโกรทแฟคเตอร์ อย่างไรก็ตามการกระตุ้นแสดงออกของยีนทั้งหมดโดยเคอร์คูมินไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปผลเคอร์คูมินน่าจะมีผลต่อการควบคุมการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผลในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกมนุษย์ แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.