Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาค่าในการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วยจัดฟันไทยที่ได้รับการรักษาแล้วที่มีรูปด้านข้างของใบหน้าท่ียอมรับได้เปรียบเทียบกับค่าปกติของผู้ใหญ่ไทย
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
Janeta Chavanavesh
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Orthodontics (ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Orthodontics
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.350
Abstract
Objective: This study aimed to compare cephalometric variables between esthetically acceptable normal, concave, and convex profile groups as well as between each group and adult Thai normative values. Materials and Methods: Three-hundred and three profile silhouettes from post-treatment lateral cephalometric radiographs of 18–37 year-old orthodontic patients were scored by 5 Thai orthodontists and 15 orthodontic patients. The Likert 5-point scale was used to judge the attractiveness. Two-hundred and seven radiographs passing the minimum score of 3 were divided into acceptable normal, concave, and convex profile (AN, ACC, ACV) groups. Thirty-five skeletal, 17 dental, and 34 soft tissue cephalometric variables were measured. One-way ANOVA and Multiple comparisons (Bonferroni) or Kruskal-Wallis H tests and Post Hoc tests with Mann-Whitney U tests were used to compare the data between AN, ACC, and ACV groups. One-sample t-test or One-sample Wilcoxon Signed Rank test were performed to analyze the difference between each group and adult Thai normative values. Results: For skeletal part, maxilla was more retrusive in all groups compared the norms. While, ACC group had similar mandibular position, but more protrusive chin; and ACV and AN groups had more retrusive mandible and chin compared with the norms. ACC group presented skeletal and dental base Class III tendency, while ACV group showed skeletal and dental base Class II tendency. ACC had similar vertical relationship, while the others had open bite tendency, with more open bite in ACV group, compared with the norms. For dental part, AN had similar dental characteristics compared with the norms. ACC group showed more protruded and proclined upper incisors, and retruded and retroclined lower incisors, while ACV group showed more retruded and retroclined upper incisors, and protruded and proclined lower incisors compared with the norms. For soft tissue, AN group had similar soft tissue characteristics compared with the norms. ACC group had flatter profile, while ACV group had more convex profile compared with the norms. AN and ACC groups had more protruded upper lip and retruded lower lip, while ACV group had similar upper and lower lip position compared with Thai norms. ACC group had protruded chin, AN group had normal chin position, while ACV group had retruded chin. Prominent nose and more competent lip were presented in all groups when compared with the norms. Conclusion: All three esthetically acceptable profile groups had some different skeletal, dental, and soft tissue characteristics from the present norms. For AN patients, orthodontic treatment could be planned based on previous Thai norms. Skeletal open bite tendency were acceptable in all groups. For the other profiles, orthodontic treatment could be performed with more protruded and proclined upper incisors and more retruded and retroclined lower incisors than the norms in ACC patients, and on the contrary treatment plan in ACV patients. In summary, different treatment goal based on cephalometric values for each lateral facial profile should be applied to achieve the esthetically acceptable facial profiles.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วัตถุประสงค์การศึกษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรจากภาพรังสีวัดกะโหลกศีรษะด้านข้างระหว่างกลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบปกติ แบบเว้าและแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้ และระหว่างแต่ละกลุ่มกับค่าปกติของผู้ใหญ่ไทย วัสดุและวิธีการ นำภาพเงาดำของรูปหน้าด้านข้างจากภาพรังสีวัดกะโหลกศีรษะด้านข้างหลังการรักษาของคนไข้จัดฟันอายุ 18-37 ปี จำนวน 303 ภาพ มาให้ทันตแพทย์จัดฟันชาวไทย 5 ท่านและผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน 15 ท่าน ให้คะแนนความพึงพอใจ ด้วยมาตราวัดลิเคิร์ท 5 ระดับ ภาพรังสี 207 ภาพที่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ 3 คะแนน จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มรูปหน้าด้านข้างแบบปกติ แบบเว้า และแบบนูนที่ยอมรับได้ ทำการวัดค่าตัวแปรเนื้อเยื่อแข็ง 35 ค่า ตัวแปรฟัน 17 ค่า และตัวแปรเนื้อเยื่ออ่อน 34 ค่า ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวร่วมกับการเปรียบเทียบเชิงพหุ หรือค่าสถิติการทดสอบแบบครัสคัล วอลลิสร่วมกับสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ยู เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มรูปหน้าด้านข้างแบบปกติ แบบเว้า และแบบนูนที่ยอมรับได้ และใช้สถิติการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว หรือสถิติทดสอบวิลคอกซันสำหรับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบกับค่าปกติของผู้ใหญ่ไทย ผลการศึกษา ลักษณะกระดูก กระดูกขากรรไกรบนถอยกว่าค่าปกติในทุกกลุ่มรูปหน้า ขณะที่กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้มีกระดูกขากรรไกรล่างใกล้เคียง แต่คางยื่นกว่าค่าปกติ และกลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนและปกติที่สวยงามยอมรับได้มีกระดูกขากรรไกรล่างและคางถอยกว่าค่าปกติ กลุ่มที่มีรูปหน้าปกติที่สวยงามยอมรับได้มีความสัมพันธ์กระดูกขากรรไกรและกระดูกเบ้าฟันใกล้เคียงค่าปกติเดิม กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้มีแนวโน้มความสัมพันธ์กระดูกขากรรไกรและกระดูกเบ้าฟันชนิดที่ 3 ขณะที่กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้มีแนวโน้มความสัมพันธ์กระดูกขากรรไกรและกระดูกเบ้าฟันชนิดที่ 2 กลุ่มรูปหน้าด้านข้างแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้มีความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรแนวดิ่งใกล้เคียงค่าปกติ ส่วนอีก 2 กลุ่มมีแนวโน้มกระดูกขากรรไกรแบบสบเปิดกว่าค่าปกติ โดยเปิดมากกว่าในกลุ่มรูปหน้าด้านข้างแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้ ลักษณะของฟัน กลุ่มที่มีรูปหน้าปกติที่สวยงามยอมรับได้มีลักษณะของฟันใกล้เคียงค่าปกติ กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้มีฟันหน้าบนมีตำแหน่งยื่นและทำมุมยื่นกว่า มีฟันหน้าล่างมีตำแหน่งถอยและทำมุมถอยกว่า ขณะที่ในกลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้มีฟันหน้าบนทำมุมถอยและมีตำแหน่งถอยกว่า มีฟันหน้าล่างมีตำแหน่งและทำมุมยื่นกว่าค่าปกติ ลักษณะของเนื้อเยื่ออ่อน กลุ่มที่มีรูปหน้าปกติที่สวยงามยอมรับได้มีลักษณะใกล้เคียงค่าปกติ กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้มีรูปหน้าด้านข้างแบนกว่า และกลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนกว่า กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างปกติและแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้ มีริมฝีปากบนยื่นและริมฝีปากล่างถอย ขณะที่กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้ มีรูปริมฝีปากบนและล่างใกล้เคียงค่าปกติ กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบเว้ามีลักษณะคางยื่น กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างปกติมีลักษณะคางใกล้เคียงค่าปกติ ขณะที่กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนมีลักษณะคางถอย ในทุกกลุ่มรูปหน้าด้านข้างที่สวยงามยอมรับได้มีลักษณะจมูกยื่น และมีระยะระหว่างริมฝีปากบนและล่างน้อยกว่าค่าปกติ สรุปผลการศึกษา รูปหน้าด้านข้างที่สวยงามยอมรับได้ 3 แบบ มีลักษณะกระดูก ฟัน และ เนื้อเยื่ออ่อน แตกต่างไปจากค่าปกติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในกลุ่มรูปหน้าด้านข้างปกติสามารถรักษาโดยอ้างอิงจากค่าปกติผู้ใหญ่ไทยได้ ลักษณะกระดูกค่อนไปทางแบบสบเปิดยอมรับได้ในทุกกลุ่มรูปหน้า ในกลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบเว้าที่สวยงามยอมรับได้สามารถจัดฟันหน้าบนทำมุมยื่นและตำแหน่งยื่น และจัดฟันหน้าล่างทำมุมถอยและตำแหน่งถอยกว่าค่าปกติของผู้ใหญ่ไทย ขณะที่กลุ่มที่มีรูปหน้าด้านข้างแบบนูนที่สวยงามยอมรับได้ ใช้หลักการตรงกันข้ามในการรักษา โดยสรุปเราควรประยุกต์ใช้เป้าหมายการรักษาที่แตกต่างกันตามค่ารังสีวัดกะโหลกศีรษะในแต่ละกลุ่มรูปหน้า เพื่อให้มีรูปหน้าด้านข้างที่สวยงามยอมรับได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Pornsirianand, Visessan, "Cephalometric study of treated orthodontic patients with acceptable esthetic profiles compared to adult Thai normative values" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 86.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/86