Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

มโนอุปลักษณ์ความเป็นผู้หญิงในวรรณกรรมภาษาอังกฤษโดยผู้ประพันธ์ชาวอินเดีย

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Jiranthara Srioutai

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

English as an International Language

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.209

Abstract

The Conceptual Metaphor Theory (CMT) established the pervasiveness of metaphor in thought and language and provided evidence that metaphor is, in fact, deeply embedded in our conceptual system. Contrary to the original claim that conceptual metaphors are largely universal, in almost four decades after its inception, the CMT researchers including George Lakoff and Mark Johnson have advanced the idea of cultural influence on metaphorical conceptualisation. In recent years, the trend in metaphor research has been to study how metaphor behaves in naturally occurring discourse. It is in this context that the current study explores conceptual metaphors in India’s rich cultural context. The main objectives of the current study are, (i) to examine conceptual metaphors of womanhood found in English literary works set in India’s three culturally diverse linguistic regions, and (ii) to compare and contrast them across literary works of the three regions. The data of linguistic metaphors was collected from 21 literary works, seven in each linguistic region. This data was tested for metaphoricity using the Metaphor Identification Procedure, Vrije University, Amsterdam (MIPVU) developed by the PRAGGLEJAZ Group, after which it was analysed using the CMT. The CMT enabled the identification of the source domain used in each linguistic metaphor and subsequently, the uncovering of conceptual metaphors through the establishment of cross-domain mappings between the source and target domains. The framework of the Cognitive Dimension of Metaphor Variation by Zoltan Kövecses has been used to analyse the metaphors for similarities and variations across the three regions. The Great Chain of Being metaphor or the GCB model has guided the understanding of the negative and positive conceptualisation of the metaphors of womanhood. The analysis revealed that a total of 30 source domains have been utilised by the authors across the three regions. Of these, 21 in the Indo-Aryan, 27 in the Dravidian and 23 source domains in Tibeto-Burmese literary works. Of these, the source domains, ANIMALS, OBJECTS, SUPERNATURAL ENTITIES, PLANTS, and ELEMENTS OF NATURE are the most frequently used. The source domain, ANIMALS tops in the aggregate with approximately 25% of total metaphors across the three regions conceptualising women in terms of animals. The next most frequently used source domain is OBJECTS with 22% of the total metaphors conceptualising women in terms of objects. In terms of the target domains of womanhood, the Indo-Aryan works focus more on the conceptualisation of motherhood, the Dravidian works focus more on the conceptualisation of wifehood and metaphors found in the Tibeto-Burmese literary works focus more on the women’s physical attributes and beauty. Lastly, the conceptualisation of womanhood in the Indo-Aryan and Dravidian literary works is more negative than positive, with the negative conceptualisation of womanhood being the higher in the Dravidian literary works. In the Tibeto-Burmese literary works, the percentage of positive and negative metaphors was found to be proportionate. The main implication of this research is that it is the first comprehensive study of literary metaphors ever conducted. The study analysed 708 linguistic metaphors of womanhood from 21 literary works across India.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ทฤษฎีมโนอุปลักษณ์แสดงให้เห็นว่าการใช้อุปลักษณ์ปรากฏอย่างแพร่หลายทั้งในความคิดและภาษา ตลอดจนฝังรากลึกอยู่ในระบบปริชานของผู้ใช้ภาษา นักวิจัยทฤษฎีดังกล่าวซึ่งได้แก่ จอร์จ เลคอฟฟ์ และ มาร์ค จอห์นสัน เสนอแนวคิดการสร้างมโนทัศน์เชิงอุปลักษณ์ผ่านกรอบความคิดทางวัฒนธรรม ซึ่งต่างจากแนวคิดแรกเริ่มของมโนอุปลักษณ์ที่ว่าอุปลักษณ์มีลักษณะความเป็นสากล แนวทางการศึกษามโนอุปลักษณ์ในปัจจุบันจึงมุ่งไปที่การใช้อุปลักษณ์ในตัวบทภาษาใช้จริงรูปแบบต่าง ๆ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษามโนอุปลักษณ์ในบริบททางวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งมีความซับซ้อนหลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษามโนอุปลักษณ์ความเป็นหญิงในตัวบทวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่ครอบคลุมบริบททางภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของอินเดียใน 3 ภูมิภาค และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของการใช้อุปลักษณ์ในวรรณกรรมดังกล่าว งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากถ้อยคำอุปลักษณ์ในวรรณกรรมจำนวนทั้งหมด 21 เรื่อง ซึ่งครอบคลุมบริบทของอินเดียทั้ง 3 กลุ่มภูมิภาค โดยกำหนดภูมิภาคละ 7 เรื่อง งานวิจัยดังกล่าวมีการทดสอบความเป็นอุปลักษณ์โดยอาศัยกระบวนการระบุอุปลักษณ์ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฟรเย่อ อัมสเตอร์ดัม และวิเคราะห์ข้อมูลอุปลักษณ์โดยอาศัยทฤษฎีมโนอุปลักษณ์ซึ่งช่วยระบุมโนทัศน์ต้นทางที่ปรากฎใช้ในถ้อยคำอุปลักษณ์ ตลอดจนแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์ต้นทางไปสู่มโนทัศน์ปลายทาง นอกจากนั้น งานวิจัยดังกล่าวยังเลือกใช้กรอบแนวคิดมิติทางปริชานของความแตกต่างในการใช้อุปลักษณ์ของโซลตัน โคเว็กเซสสำหรับวิเคราะห์ความเหมือน-ต่างของถ้อยคำอุปลักษณ์จากวรรณกรรมที่ครอบคลุมบริบทของอินเดียในแต่ละกลุ่มภูมิภาค ตลอดจนมีการใช้แนวคิดห่วงโซ่มโนทัศน์สิ่งมีชีวิตในภาษาแสดงอุปลักษณ์เพื่อทำความเข้าใจการสร้างมโนทัศน์ด้านลบและด้านบวกในการใช้อุปลักษณ์ความเป็นหญิง จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบมโนทัศน์ต้นทางที่ใช้อธิบายความเป็นหญิงจำนวนทั้งหมด 30 มโนทัศน์ ในวรรณกรรมกลุ่มอินโด-อารยันมีจำนวน 21 มโนทัศน์ ในกลุ่มดราวิเดียนมีจำนวน 27 มโนทัศน์ และในกลุ่มทิเบต-พม่ามีจำนวน 23 มโนทัศน์ มโนทัศน์ต้นทางซึ่งได้แก่ สัตว์ วัตถุสิ่งของ พืช สิ่งเหนือธรรมชาติ และองค์ประกอบของธรรมชาติพบในความถี่สูง โดยมโนทัศน์ต้นทางที่กล่าวถึงสัตว์พบมากที่สุดถึงร้อยละ 25 จากมโนทัศน์ต้นทางทั้งหมดที่พบในวรรณกรรมทั้งสามกลุ่มภูมิภาค และรองลงมาคือมโนทัศน์ต้นทางที่กล่าวถึงเป็นวัตถุสิ่งของ ซึ่งพบในจำนวนร้อยละ 22 ในส่วนของมโนทัศน์ความเป็นหญิง พบว่า วรรณกรรมกลุ่มอินโด-อารยันมุ่งเน้นการสร้างมโนทัศน์ย่อยของความเป็นแม่ผ่านการใช้อุปลักษณ์ ในขณะที่วรรณกรรมกลุ่มดราวิเดียน มุ่งเน้นมโนทัศน์ย่อยความเป็นภรรยา และวรรณกรรมกลุ่มทิเบต-พม่ามุ่งเน้นลักษณะเรือนกายและความงามของผู้หญิง นอกจากนั้น การสร้างมโนทัศน์ความเป็นหญิงในวรรณกรรมกลุ่มอินโด-อารยันและกลุ่มดราวิเดียนเป็นการแสดงลักษณะเชิงลบมากกว่าเชิงบวก ซึ่งวรรณกรรมกลุ่มดราวิเดียนมีการแสดงลักษณะเชิงลบมากกว่าวรรณกรรมกลุ่มอินโด-อารยัน ในขณะเดียวกัน พบการใช้อุปลักษณ์ในการสร้างมโนทัศน์เชิงบวกและเชิงลบในสัดส่วนที่เทียบเท่ากันในวรรณกรรมกลุ่มทิเบต-พม่า งานวิจัยนี้ถือเป็นงานวิจัยแรกที่ศึกษาอุปลักษณ์ในวรรณกรรมซึ่งวิเคราะห์จากถ้อยคำอุปลักษณ์ความเป็นหญิงทั้งหมด 708 ถ้อยคำจากวรรณกรรมในบริบทอินเดีย เนื่องจากมโนอุปลักษณ์มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมปริชาน ผลการวิเคราะห์จึงนำไปสู่การรับรู้และมุมมองเกี่ยวกับผู้หญิง ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อความเป็นหญิงซึ่งยังมีอิทธิพลอยู่ในอินเดียแต่ละภูมิภาค

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.