Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารในกิจการเพื่อสังคม

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Prae Keerasuntonpong

Faculty/College

Faculty of Commerce and Accountancy (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)

Department (if any)

Department of Accounting (ภาควิชาการบัญชี)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Accountancy

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1

Abstract

Social Enterprises (SEs) have progressively grown, filling gaps where government and the market fail; that is, when public-sector goods/services are unsatisfactory to support social needs, and for-profit organizations cannot make sufficient profit in providing those goods/services (Austin, Stevenson, & Wei-Skillern, 2006; Haugh, 2005). SEs have emerged to tackle persistent and complex social problems. In Southeast Asia, many social problems (i.e. poverty, unemployment, social and economic inequality) have long been recognised and they persist overtime, especially since the Asian financial crisis in 1997, with SE being introduced in Southeast Asia after the crisis (Defourny & Kim, 2011; Kerlin, 2010). SEs are neither purely profit-seeking nor purely not-for-profit organisations; the uniqueness of SEs is that they seek both social impacts or benefits for beneficiaries, as well as their own profits and involvement with many stakeholders who have different in demands. Therefore, SEs tend to have conflicts between their dual goals when they attempt to simultaneously maintain the dual mission with limited resources. SEs must manage the dual missions of financial sustainability and social goals (Doherty, Haugh, & Lyon, 2014; Ebrahim, Battilana, & Mair, 2014; Mair & Martí, 2006; Santos, 2012), and therefore require good management if they are to grow and have a larger impact on society. One tool for goal achievement used by management is Management Control (MC). This research questions whether the MC can be used to manage the tension between SE dual mission of SE. Anthony and Govindarajan (2014) define MC as a process which is used by higher level managers to ensure that the lower-level managers will implement the organisation’s strategies to achieve organisation’s goals. Simons (1990) investigates companies with different strategies and states they will use MC differently. A company utilising product differentiation uses MC interactively more than a company with a cost leadership strategy. For example, the long-term planning process in the product differentiation company is used for debates among staff and revisited yearly, which is more frequent than in the cost leadership company (Simons, 1990). However, Simons’s (1990) investigation, like much literature on MC, is in the for-profit area. Extending his theory to SE is likely to be challenging as there are different goals and strategies within the same organisation. Some literature implies the use of MC to manage the tension between dual missions but most of them apply an individual MC (Arjaliès & Mundy, 2013; Bagnoli & Megali, 2011; Battilana & Dorado, 2010; Chenhall, Hall, & Smith, 2015; Kraus, Kennergren, & von Unge, 2017). Some literature provides empirical evidence to use MC in the SE context but not for managing the dual mission tension. Instead, the literature mainly investigates how MC affects social capital in SE (Chenhall, Hall, & Smith, 2010; Vieira, Ha, & O' Dwyer, 2013). The success of SEs depends partly on how the dual goals are managed, especially when there is a tension. This research explores how MC is used to manage the tension of SE. It draws on Tessier and Otley’s (2012) MC framework. The framework is a revised version of Simon’s Levers of Control (LOC) to improve ambiguities in the LOC. This dissertation reports on qualitative research, using data from four Thai SE cases. The research reveals both theoretical and practical contributions. The theoretical contribution extends literature on the use of MC frameworks which has previously mostly investigated either for-profit or not-for-profit organisations. The result shows that a comprehensive MC framework is preferable to an individual MC framework to investigate SE. A modification of Tessier and Otley’s (2012) MC framework is also provided. The practical contribution is drawn from the findings that SEs face tension even though an appropriate strategic planning approach is selected. The residual tension is resolved by MC - social control, the belief system in particular. Drawing from the results, it is preferable to used interactive MCs and intrinsic rewards in SEs. Lastly, the dissertation suggests that the MC should operate as a system rather than a package to manage dual mission conflicts.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

กิจการเพื่อสังคมได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างรวดเร็วโดยมีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาสังคมที่ซับซ้อนโดยการจัดหาสินค้าหรือให้บริการต่อสังคมที่ภาครัฐไม่สามารถจัดหาได้และภาคธุรกิจไม่ทำเพราะกำไรที่ได้ไม่เพียงพอ ในแถบภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การว่างงาน และ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่เกิดขี้นและคงอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่วิกฤตการทางการเงินในเอเซียเมื่อปี 2540 ซึ่งกิจการเพื่อสังคมได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้หลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว กิจการเพื่อสังคมไม่ใช่กิจการประเภทแสวงหาผลกำไรหรือกิจการที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่คุณลักษณะเฉพาะของกิจการเพื่อสังคมคือเป็นกิจการที่ดำเนินการเพื่อสร้างประโยชน์หรือผลกระทบที่ดีต่อสังคมในขณะเดียวกันก็ยังมุ่งเน้นการหากำไรเพื่อความอยู่รอดของกิจการ นอกจากนั้นแล้วคุณลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือกิจการเพื่อสังคมมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลายส่วน เช่น ผู้รับประโยชน์ทางสังคม หรือ ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน จากคุณลักษณะดังกล่าวทำให้การดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคมมีแนวโน้มที่จะมีความขัดแย้งกันระหว่างวัตถุประสงค์เพื่อสังคมและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นจากความต้องการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองประการได้พร้อมๆกันภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด ในการจัดการกับความขัดแย้งดังกล่าวต้องอาศัยการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้กิจการเพื่อสังคมเติบโตและสร้างผลประโยชน์ทางสังคมได้ต่อเนื่อง เครื่องมือหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับว่าใช้ในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น คือ ระบบการควบคุมทางการบริหาร (Management Control System-MCS) ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาว่าระบบการควบคุมทางการบริหารสามารถช่วยจัดการความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์เพื่อสังคมและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้หรือไม่ Anthony and Govindarajan (2014) ได้ให้คำนิยามของระบบการควบคุมทางการบริหารว่าเป็นกระบวนการที่ถูกใช้โดยผู้บริหารเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานในองค์กรได้ปฏิบัติงานเป็นไปตามกลยุทธ์ที่ผู้บริหารได้วางไว้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร Simons (1990) ได้ทำการศึกษาบริษัทที่ใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันพบว่าบริษัทเหล่านั้นจะมีการใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารที่แตกต่างกันด้วย บริษัทที่ใช้กลยุทธ์ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation) จะใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารโดยมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างพนักงานมากกว่าบริษัทที่ใช้กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) ตัวอย่างเช่น กระบวนการวางแผนงานระยะยาวในบริษัทที่ใช้กลยุทธ์ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์จะมีการโต้ตอบกันระหว่างพนักงานและมีการทบทวนแผนงานทุกปีซึ่งบ่อยครั้งกว่าในบริษัทที่ใช้กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน อย่างไรก็ตามการศึกษาของ Simons (1990) เป็นการศึกษาในบริษัทที่ดำเนินกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรเป็นหลัก การนำผลการศึกษาดังกล่าวมาใช้กับกิจการเพื่อสังคมจะมีความท้าทายมากกว่าในแง่ที่ว่ากิจการเพื่อสังคมเป็นกิจการที่รวมวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไว้ในกิจการเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเกี่ยวกับระบบการควบคุมทางการบริหารในการที่จะช่วยจัดการความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของกิจการเพื่อสังคมแต่การศึกษาเหล่านั้นเป็นการนำระบบการควบคุมทางการบริหารเฉพาะส่วนเข้ามาจัดการ บางการศึกษาได้ให้หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารในกิจการเพื่อสังคมแต่เป็นการใช้ในด้านอื่นที่ไม่ใช่การนำมาจัดการความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ เช่น การนำระบบการควบคุมทางการบริหารมาใช้ในการจัดการต้นทุนทางสังคมของกิจการเพื่อสังคม เป็นต้น ความสำเร็จของกิจการเพื่อสังคมส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับว่ากิจการเพื่อสังคมสามารถจัดการกับความขัดแย้งของวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ดีเพียงใด ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงจะทำการศึกษาว่าระบบควบคุมทางการบริหารจะถูกใช้ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของกิจการเพื่อสังคมได้อย่างไรโดยใช้กรอบแนวคิดของระบบการควบคุมทางการบริหารของ Tessier and Otley (2012) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่ถูกดัดแปลงมาจาก Simon’s Levers of Control (LOC) เพื่อให้เกิดความชัดเจนของกรอบแนวคิดเพิ่มมากขึ้น วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ข้อมูลจากกิจการเพื่อสังคมของไทยสี่แห่งซึ่งได้ให้ประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงปฏิบัติ ประโยชน์เชิงวิชาการจากวิทยานิพนธ์นี้ให้ประโยชน์ในการต่อยอดการศึกษาที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการใช้กรอบแนวคิดของระบบการควบคุมทางการบริหารซึ่งที่ผ่านมาเป็นการศึกษาการใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารในองค์กรที่แสวงหาผลกำไรหรือไม่แสวงหาผลกำไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากวิทยานิพนธ์พบว่าในบริบทของกิจการเพื่อสังคมการใช้กรอบแนวคิดของระบบการควบคุมทางการบริหารแบบครอบคลุมทุกระบบจะดีกว่าการใช้กรอบแนวคิดของระบบการควบคุมทางการบริหารเฉพาะด้านโดยวิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการปรับปรุงกรอบแนวคิดของ Tessier and Otley (2012) ให้มีความเหมาะสมกับการศึกษาการใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารในบริบทของกิจการเพื่อสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย สำหรับประโยชน์ในเชิงปฏิบัติผลของวิทยานิพนธ์นี้พบว่ากิจการเพื่อสังคมยังคงต้องเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนทางกลยุทธ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม การวางแผน กลยุทธ์ที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันความขัดแย้งได้บางส่วนและส่วนที่เหลือสามารถทำให้ลดลงได้ด้วยระบบการควบคุมทางการบริหารที่เรียกว่าการควบคุมทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ระบบความเชื่อภายในองค์กร นอกจากนั้นผลของวิทยานิพนธ์ยังพบว่าระบบการควบคุมทางการบริหารควรถูกใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้และผู้ถูกใช้ และการตอบแทนแบบที่เกิดขึ้นเองจากภายในมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้วิธีการตอบแทนจากภายนอกในบริบทของกิจการเพื่อสังคม สุดท้ายผลของวิทยานิพนธ์ยังพบว่าในการใช้ระบบการควบคุมทางการบริหารจัดการกับความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ของกิจการเพื่อสังคมนั้น ระบบการควบคุมทางการบริหารควรทำงานอย่างมีความสัมพันธ์กันมากกว่าการทำงานแต่ละระบบแยกจากกัน

Included in

Accounting Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.