Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ณัชพล จิตติรัตน์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.174
Abstract
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐได้มีการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือค้ำประกัน โดยผู้ประกวดราคาหรือผู้ชนะการประมูลจะต้องนำหนังสือค้ำประกันมายื่นต่อหน่วยงานรัฐตามข้อสัญญาเพื่อนำมาเป็นหลักประกันผลงาน โดยหนังสือค้ำประกันจะต้องออกโดยธนาคารและให้ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันผลงาน ซึ่งสามารถยื่นได้ทั้งหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์และหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษ ภาครัฐโดยกรมบัญชีกลางจึงได้มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการดำเนินงานของระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ โดยจัดให้มีการทำหลักประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบล็อกเชน เพื่อให้การทำธุรกรรมสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ลดการจัดเก็บเอกสาร สร้างความน่าเชื่อถือให้กับหนังสือค้ำประกัน มีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ดีการออกหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน อีกทั้งมีความเสี่ยงในการทุจริตทั้งปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ รวมถึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านมาธนาคารได้มีการนำข้ออ้างต่างๆ ในการปฏิเสธที่จะชำระหนี้ในฐานนะผู้ค้ำประกันให้กับเจ้าหนี้ โดยมีการนำข้ออ้างว่าหนังสือค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม หรือเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้มีการปลอมแปลงเอกสารหนังสือค้ำประกัน หรือกรณีที่เจ้าหนี้คืนหนังสือค้ำประกันโดยความเข้าใจผิดในขณะที่หนี้ประธานยังไม่สิ้นสุด ซึ่งธนาคารมักใช้เหตุผลว่าธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันคืนมาอย่างสุจริตและเมื่อธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันธนาคารสามารถยกเลิกภาระผูกพันได้ตามธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคาร ทั้งนี้เมื่อเกิดข้อพิพาทและได้มีการนำสืบพบว่าส่วนใหญ่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของธนาคารเอง ธนาคารยังคงมีภาระผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันและยังคงต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้ามาช่วยลดภาระในการอ้างสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้แทนลูกหนี้ รวมถึงยังสามารถลดปัญหาข้อพิพาทและการพิสูจน์เอกสารได้เนื่องจากการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบบล็อกเชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและอนุมัติธุรกรรมนั้นก่อนข้อมูลจึงจะถูกบันทึกลงบนระบบบล็อกเชน ทำให้โอกาสในการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารทำได้ยากและยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทุกฝ่าย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ยินดีฉัตร, สรชนก, "หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์กับภาระในการอ้างสิทธิของธนาคารพาณิชย์" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8256.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8256