Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.156

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประชาชน และเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย รวมถึงศึกษามาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยจำเป็นต้องมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 80 ของพลังงานที่จัดหาทั้งหมด โดยการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งผ่านทางเรือจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลอยู่เสมอ ประกอบกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์การเกิดได้ล่วงหน้า และหากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชน และเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาและควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลาเพื่อไม่ให้ความเสียหายยิ่งแพร่กระจายไปเป็นวงกว้างและยากต่อการแก้ไข ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล คือการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ.1992 และ ภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ.1992 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าข้อกำหนดในการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศ และความรับผิดของกองทุนยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถรับค่าสินไหมชดเชยได้ครอบคลุมทุกกรณี ประกอบกับประเทศไทยไม่มีกองทุนสิ่งแวดล้อมซึ่งระบุวัตถุประสงค์เฉพาะที่จะนำมาใช้เพื่อชดเชยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมลพิษน้ำมัน ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีการบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษน้ำมันเพื่อบังคับใช้ภายในประเทศ คือ กฎหมายมลพิษน้ำมัน โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิด ค่าเสียหาย มาตรการควบคุมมลพิษ ไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมในหลายกรณี อีกทั้งกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความรับผิดจากมลพิษน้ำมัน เพื่อเป็นกองทุนในประเทศซึ่งใช้ช่วยเหลือ จ่ายค่าสินไหม เยียวยาความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ได้รับความเสียหาย โดยมีแหล่งที่มาของรายได้จากการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม หรือเรียกว่าภาษีน้ำมัน (Barrel Tax) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหากมีกองทุนภายในประเทศจะทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไข และวัตถุประสงค์ของกองทุนได้ตามความเหมาะสมกับเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ และสามารถบริหารจัดการการใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุณ์การได้อย่างไม่ล่าช้า ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอให้นำแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.