Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.200
Abstract
ตามที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแต่เดิมจัดเก็บได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัญหาการตีความคำว่าสิ่งปลูกสร้าง และปัญหาในการคิดคำนวณค่ารายปี แต่ปรากฏว่าเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กลับทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีลดลงไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับสิ่งปลูกสร้างบางประเภท ตัวอย่างเช่น กิจการโรงไฟฟ้า โดยมีการลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับกิจการโรงไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ประกอบกับเกิดสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ประกาศลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทอัตราร้อยละ 90 จากภาษีที่คำนวณได้ ส่งผลให้กิจการโรงไฟฟ้าเสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง และเมื่อพิจารณาจากรายได้ประมาณการ พบว่ารายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งที่การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจมีปัญหาในการบังคับใช้ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสิงคโปร์แล้วพบว่า การจัดเก็บภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศสิงคโปร์เป็นการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า โดยมีการวางแนวทางการตีความสิ่งปลูกสร้างที่ชัดเจนถูกต้องตามแนวคิดและทฤษฎีภาษีทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีวิธีการประเมินภาษีที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามประเภทของสิ่งปลูกสร้าง และมีการลดภาษีเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับการศึกษาและสาธารณประโยชน์เท่านั้น มิได้ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจประเภทต่างๆ แต่อย่างใด ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรนำแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสิงคโปร์มาปรับปรุงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย ให้เป็นภาษีอากรที่ดี ซึ่งจะอำนวยรายได้และเป็นธรรมต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีหร่าย, ภูรินทร์, "ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกิจการโรงไฟฟ้า" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7816.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7816