Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.184
Abstract
ปัจจุบัน ประมวลรัษหากรได้กำหนดให้กิจการ 3 ประเภทมีหน้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่ง ค่าภาษีดังกล่าวให้กรมสรรพากร กิจการประเภทแรก คือ กิจการขายสินค้าในราชอาณาจักร ประเภทที่สอง คือ กิจการการให้บริการในราชอาณาจักร และประเภทที่สาม คือ การนำเข้าสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการดังกล่าวและมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องมี หน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องดำเนินการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ในการเครดิตภาษีซื้อ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ กิจการได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับสถานประกอบการที่สามารถนำมายื่นขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะจัดตั้งสถานประกอบการและจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น หากสถานประกอบการเป็นอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมและมีลักษณะเป็นห้องพักอาศัย จะ ไม่สามารถใช้ห้องพักอาศัยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เนื่องจากขัดกับ ข้อกฎหมายที่มีการห้ามใช้ห้องพักอาศัยในการประกอบการค้า เว้นแต่จะเป็นห้องที่มีการจัดพื้นที่ไว้โดยเฉพาะ เท่านั้น ทั้งนี้ หากพิจารณานิยามคำว่า “สถานประกอบการ” ตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลรัษหากรนั้น หมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ และให้หมายรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็น ที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ดังนั้น หากผู้ประกอบการได้ดำเนินธุรกิจภายในห้องพักอาศัย ในอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม โดยประกอบกิจการงานนั้นเป็นประจำ และมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี อาทิ บุคคลธรรมดารับจ้างพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสถานที่ทำงานคือห้องพัก ในคอนโดมิเนียมของตนเอง และมีรายได้ต่อปีตรงตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ก็ควรมีสิทธิที่จะยื่นคำขอ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาจากจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานครที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ส่งผลให้ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จากเดิมที่ประชากรเคยมีที่อยู่อาศัยในแนวราบ (Low-Rise) อาทิบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว หรือ อาคารพาณิชย์กลายเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยแนวสูงหรือแนวดิ่ง (High-Rise) คือ อาคารชุด หรือที่ เรานิยมเรียกกันว่า “คอนโดมิเนียม” ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบกับปัญหา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถออกไปทำธุรกรรม หรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายนอกได้ตามปกติเช่นเดิม และภาครัฐได้กำหนดมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติวิสัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในประเทศไทยอย่างเป็นวงกว้าง จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาเห็นว่า ข้อกฎหมายของประเทศไทยควรเอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ ห้องชุดเป็นสถานประกอบการในการจัดตั้งธุรกิจและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพการณ์ปัจจุบันที่ใครอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานหาเงินได้จึงได้วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของกฎหมายไทยที่ เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประกอบการร้านค้า กับหลักกฎหมายไทยเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สิทธิในทรัพย์สินของเอกชน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ประกอบการร้านค้าดังกล่าว พบว่า วัตถุประสงค์ของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสถานประกอบการ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขเอี่ยม, สิรามล, "แนวทางในการแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมีเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประกอบการร้านค้า" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7800.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7800