Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การประเมินการเกิดฟองอากาศในโพรงฟันชนิดคลาสทูที่ได้รับการบูรณะด้วยวัสดุอุดฟันชนิดบัลค์ฟิลล์และคอนเวนชั่นนอลนาโนไฮบริดเรซินคอมโพสิต

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Chalermpol Leevailoj

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Esthetic Restorative and Implant Dentistry

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.236

Abstract

Objectives: The aim of the study was to evaluate the influence of four resin composites on voids in small and large Class II cavities. Furthermore, the thickness of the first increment of the restorations was studied. Methods: Eighty artificial lower second premolars were divided into two preparation designs with 40 standardized Class II cavities in each, and then restored with four resin composites (three bulk-fill types: SonicFill 2, Filtek Bulk Fill (capsule), Filtek Bulk Fill (syringe) and a conventional nanohybrid resin composite: Premise). Restorations were sectioned for microscopic evaluation and a Kruskal-Wallis analysis was performed to evaluate the number of voids and percent void area. The thickness of the first increment was measured and analyzed. Results: There were significant differences in the number of voids and percent void area among the 4 groups in small cavities. SonicFill 2 and Filtek Bulk Fill (capsule) placed with the injection technique showing reduced voids. In contrast, no significant differences were detected among the 4 groups in large cavities. Most of the first increment thicknesses of the restorations in both cavity preparations were thicker than recommended. Conclusions: Voids were reduced when the injectable resin composites were applied in small Class II cavity preparations, and the best results were achieved using SonicFill 2.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินอิทธิพลของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิตทั้ง 4 กลุ่มต่อการเกิดฟองอากาศในโพรงฟันชนิดคลาสทูขนาดเล็กและขนาดใหญ่ นอกจากนี้ความหนาของการอุดอินครีเมนท์ชั้นแรกได้ถูกศึกษาเพิ่มเติม วิธีการและเครื่องมือ: ฟันกรามน้อยล่างซี่ที่สองชนิดพลาสติกจำนวน 80 ซี่ ได้ถูกแบ่งการเตรียมโพรงฟันออกเป็น 2 แบบโดยมีโพรงฟันมาตรฐาน 40 โพรงฟันในแต่ละแบบ หลังจากนั้นบูรณะโพรงฟันด้วยเรซินคอมโพสิต 4 กลุ่ม (เรซินคอมโพสิตชนิดบัลค์ฟิลล์ 3 กลุ่ม ได้แก่ โซนิคฟิลล์ทู, ฟิลเทคบัลค์ฟิลล์(ไซริ้งค์), ฟิลเทคบัลค์ฟิลล์(แคปซูล) และคอนเวนชั่นนอลนาโนไฮบริดเรซินคอมโพสิต 1 กลุ่มได้แก่ พรีมิส) ฟันที่ได้รับการบูรณะแล้วจะถูกตัดแบ่งเซคชั่นสำหรับการประเมินภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และใช้สถิติครัสคอล-วอลลิสวิเคราะห์ในการประเมินการเกิดจำนวนฟองอากาศและเปอร์เซ็นต์พื้นที่ฟองอากาศ ส่วนความหนาของการอุดอินครีเมนท์ชั้นแรกได้ถูกวัดและวิเคราะห์ ผลการวิจัย: พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเกิดจำนวนฟองอากาศและเปอร์เซ็นต์พื้นที่ฟองอากาศทั้ง 4 กลุ่ม ในโพรงฟันขนาดเล็ก กลุ่มของโซนิคฟิลล์ทูและฟิลเทคบัลค์ฟิลล์(แคปซูล)ที่ใช้เทคนิคแบบฉีดในการบูรณะพบว่าลดการเกิดฟองอากาศ ในทางตรงข้าม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทั้ง 4 กลุ่มในโพรงฟันขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ของความหนาในการอุดอินครีเมนท์ชั้นแรกของฟันที่บูรณะทั้ง 2 แบบโพรงฟันมีความหนาเกินกว่าความหนาที่ ได้กำหนดไว้ สรุปผลการวิจัย: การเกิดฟองอากาศลดลงเมื่อใช้เรซินคอมโพสิตแบบฉีดในการบูรณะโพรงฟันขนาดเล็กชนิดคลาสทู และพบผลการทดลองดีที่สุดในกลุ่มที่ใช้โซนิคฟิลล์ทู

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.