Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.186

Abstract

พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่พึ่งออกมาได้ไม่นาน โดยมี เจตนารมณ์เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในระดับฐานรากที่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มี ประสิทธิภาพและเป็นธรรม อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึง บริการทางการเงินที่มีคุณภาพของประชาชนระดับฐานราก และเป็นการเพิ่มทางเลือกการให้บริการทางการเงิน ระดับชุมชนประเภทใหม่ รวมถึงเป็นการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานรัฐเพื่อทำการช่วยเหลือส่งเสริม ให้สถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ให้เข้มแข็ง เช่น การมีธนาคารรัฐเป็นผู้ประสานงานดูแลให้ คำแนะนำ ที่สำคัญคือ สถาบันการเงินประชาชนนี้จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน กล่าวคือ ไม่มีการใช้เงิน อุดหนุนจากภาครัฐเป็นทุนในการดำเนินงาน ทุนทั้งหมดเป็นของประชาชนในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ประชาชน ซึ่งเงินเหล่านั้นอาจได้มาจากส่วนลงหุ้น หรือ เงินฝาก โดยสถาบันการเงินประชาชนนี้เป็นระบบการเข้า เป็นสมาชิกและจัดตั้งสถาบันแบบสมัครใจ เพื่อทำให้องค์กรทางการเงินชุมชนที่มีอยู่แล้วแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นนิติ บุคคลหรือไม่ก็ตาม ได้มีโอกาสยื่นขอแปลงสภาพให้มีความเป็นทางการและได้รับการคุ้มครองที่แน่นอน งานวิจัยฉบับนี้เน้นการศึกษาตัวบทและเจตนารมณ์เบื้องหลังกฎหมายของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ.2562 และ ทางปฏิบัติในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ศึกษาสภาพสังคมของผู้ที่ไม่มี โอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน และ ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยเป็นหลัก รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศประกอบ ซึ่งภายหลังการศึกษากลับพบว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่อาจใช้ บังคับได้ผลในทางปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีอุปสรรคในเรื่องของ ความทับซ้อนของกฎหมาย กฎหมาย ขาดสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจในการให้องค์การเงินชุมชนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชน เงื่อนไขในการยกระดับจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามกฎหมายนั้นเข้มงวดเกินไปไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมของ กลุ่มเป้าหมาย และ มีกลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังไม่ทราบความมีอยู่ของกฎหมาย งานวิจัยฉบับนี้จึงเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ตามความเป็นจริงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง รวมถึงให้รัฐ ประชาสัมพันธ์กฎหมายให้แพร่หลาย และ พยายามหาสิทธิประโยชน์ในการจูงใจให้องค์กรการเงินชุมชนยกระดับ ขึ้นเป็นสถาบันการเงินประชาชน เพราะเมื่อเกิดมีสถาบันการเงินประชาชนเกิดขึ้นได้มากตามเป้าหมายย่อมเป็น ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.