Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

ธนะศักดิ์ จรรยาพูน

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.181

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่มีความมุ่งหมายที่จะลดการใช้ดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแยกอํานาจหน้าที่ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินออกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกําหนดให้หน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐ อย่างกรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลังเข้ามารับผิดชอบในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในการประเมินภาษี ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า คือ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทําบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน) และบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติการประเมิน ราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 (ยังไม่ประกาศบังคับใช้) ซึ่งทั้งสองเป็นบัญชีที่ใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวิธีการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ตายตัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์สินที่แตกต่างกัน และการจัดทําบัญชีราคาประเมินก็ไม่ได้พิจารณาถึงพื้นที่ทําเลที่ตั้งของทรัพย์สินที่ต่างกัน อันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่มีทรัพย์สินตั้งอยู่ในทําเลที่แตกต่างกัน อีกทั้ง กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงเปิดช่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหาใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาทรัพย์สินเข้ามามีบทบาทในการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และสิ่งปลูกสร้างประเภทห้องชุดส่งผลให้เกิดป๎ญหาที่ราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างบางประเภทที่มาจากดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน และสร้างภาระให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเกินสมควร นอกจากนี้ พบว่ายังมีความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายสําหรับกรณีการจัดเก็บภาษีที่ดินที่มีข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ประเภทที่ดินเสาไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการประเมินมูลค่าที่ดินประเภทดังกล่าว ผู้เขียนได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล เพื่อศึกษาแนวทางการกําหนดวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เหมาะสมกับทรัพย์สินแต่ละประเภท และศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและการประเมินภาษีของประเทศอังกฤษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขป๎ญหาความไม่เหมาะสมในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.