Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.142

Abstract

ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการด าเนินธุรกิจอย่างไร้พรมแดน ย่อมท าให้เกิด การเคลื่อนย้ายทุน แรงงานและเทคโนโลยีระหว่างประเทศได้ง่าย มีการขยายตัวของนักลงทุนและ บริษัทข้ามชาติจ านวนมาก ซึ่งจ าเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ บริษัทข้ามชาติซึ่งมักจะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการจัดตั้งและด าเนินธุรกิจอยู่ใน ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป เพื่อให้กลุ่มบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้และ มีต้นทุนที่ต่ าที่สุด ซึ่งการพิจารณาปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ ในการบริหารต้นทุนทางธุรกิจและภาษีเงินได้ของกลุ่มบริษัทให้ลดลงได้โดยมักมีการถ่ายโอนก าไรจาก ประเทศที่มีอัตราภาษีสูงไปยังประเทศที่อัตราภาษีต่ าเพื่อการเลี่ยงภาษีโดยอาศัยช่องว่างของ กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ลงรอยกัน ตลอดจนการใช้สิทธิประโยชน์ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนเพื่อ บรรเทาภาระภาษีซ้อนโดยรวมภายในกลุ่มบริษัทข้ามชาติให้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเฉพาะในรัฐแหล่งเงินได้ที่สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี จากบริษัทข้ามชาติเป็นอย่างมาก เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของ บริษัทข้ามชาติในลักษณะรูปแบบโครงสร้างธุรกิจต่างๆ รวมถึงหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้และ ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาถึงมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจดังกล่าว เพื่อน ามาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ได้ศึกษาถึงกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีการก าหนดมาตรการรองรับผลกระทบหรือเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ส าหรับกรณีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลให้รัฐ ไม่สามารถจัดเก็บหรือจัดเก็บภาษีเงินได้ได้น้อยลง จากการศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ลักษณะธุรกิจตามแนวทางของ OECD ประกอบกับการศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีและมาตรการ ป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อน ามาปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งสามารถ สรุปผลได้ว่า ประเทศไทยสมควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีการป้องกันการเลี่ยงภาษี ไว้เป็นหมวดเฉพาะ รวมถึงปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้มีอ านาจในการสั่งการผู้ประกอบการ หรือนิติบุคคลจัดท ารายงานเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน การเลี่ยงภาษีอย่างรุนแรงของกลุ่มบริษัทข้ามชาติและลดโอกาสในการเลี่ยงภาษีจากการปรับ โครงสร้างทางธุรกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.