Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชชมัย ทองอุไร
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.25
Abstract
รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (OTOP Extravaganza) ในประเทศไทยโดยออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 318 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเริ่มครั้งแรกในปี 2559 ในช่วงวันที่ 1 สิงหาคมถึง 31 สิงหาคม โดยให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดากับการซื้อสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรการกำหนด ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ยังมีปัญหาความไม่เหมาะสมบางประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงความไม่มีประสิทธิภาพของมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีบ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำแนวทางมาปรับใช้ในบางประเด็น จากการศึกษาพบว่ามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทยมีปัญหาบางประการ กล่าวคือรัฐบาลนำมาตรการดังกล่าวมาใช้อย่างไม่ต่อเนื่องทำให้วัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทยในภาคประชาชนไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงเงื่อนไขของระยะเวลาในการให้สิทธิประโยชน์และหลักเกณฑ์ของผู้ขายสินค้าโอท็อป จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงควรนำแนวทางมาตรการภาษีบ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้โดยปรับให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้งปี โดยอาจเริ่มพิจารณาใช้เป็นระยะเวลา 2 หรือ 4 ปีก่อนเพื่อวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ รวมถึงควรให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและรัฐบาลควรพัมนาช่องทางการขายทางเว็บไซต์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลว่าทุกรายการที่ซื้อผ่านทางเว็บไซต์สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดให้ภาคประชาชนสนใจมากขึ้นและสุดท้ายนี้เพื่อให้มาตรการภาษีนี้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนมากที่สุด ทั้งผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้จดทะเบียน เช่น กลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้เพราะเงื่อนไขไม่ตามข้อกำหนด รัฐบาลควรให้หน่วยงานราชการท้องถิ่นเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ขายสินค้าโอท็อปและผู้ที่ต้องการจะใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี โดยให้หน่วยงานราชการท้องถิ่นออกเอกสารรับรองการซื้อสินค้าเพื่อรับรองการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แทน จากที่กล่าวมาจะส่งผลทำให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อยได้รับผลประโยชน์จากมาตรการภาษีนี้เช่นกัน เป็นการเปิดโอกาสและช่องทางให้กลุ่มเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้มีโอกาสในการหารายได้มากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจจะมีการกระจายตัวมากขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศักดิ์เดชยนต์, อุทัยวรรณ, "แนวทางการแก้ไขและปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (OTOP Extravaganza)" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6847.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6847