Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2018.2

Abstract

ธุรกิจเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งเป็นทางเลือกของประชาชนส่วนใหญ่ในการที่จะสามารถเข้าถึงทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น รถยนต์ยานพาหนะ เครื่องจักรที่มีราคาสูงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการหรือใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ซึ่งภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อหรรือให้เช่าแบบลีสซิ่งหลัก ๆ มีสองส่วนคือ กิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงิน เช่น บริษัท ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารทิสโก้ ฯลฯ และกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งที่ดำเนินการบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทโตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ฯลฯ โดยทั้งสองประเภทนั้นจะมีลักษณะการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกัน เนื่องจากธุรกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งเป็นธุรกิจที่กระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นจึงมีหน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องต่าง ๆ เข้ามากำกับดูแลเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งต่อประชาชนผู้บริโภคและต่อสภาพเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าธุรกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งมีลักษณะเป็นการให้สินเชื่อรายย่อยแก่ลูกหนี้ โดยลูกหนี้จะทำการผ่อนชำระให้แก่ผู้ให้สินเชื่อเป็นรายงวด ซึ่งปกติผู้ให้สินเชื่อแต่ละรายก็ย่อมมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังครอบครอง แต่อย่างไรก็ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก็มีอิทธิพลมาจากหลายปัจจัย ธุรกิจประเภทนี้จึงต้องมีการประมาณเงินสำรองที่ไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งในทางภาษีถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) แต่เนื่องจากมีพระราชกำหนดแก้ไขประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 17 ที่มีการยกเว้นเงินสำรองสำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (“สถาบันการเงิน”) ให้สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบการที่มีลักษณะธุรกิจเดียวกัน แต่ไม่สามารถนำเงินสำรองดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ พบว่าสำหรับกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งทุกประเภทไม่ว่าเป็นสถาบันการเงินหรือไม่ ถ้ามีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องแล้ว สามารถนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริงต่อผู้ประกอบการ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.