Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชชมัย ทองอุไร

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.37

Abstract

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งมีการดำเนินไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการพัฒนากฎหมายภาษีอากรของแต่ละประเทศที่ยังปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่ทันสมัย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลรัษฎากรของไทยปัจจุบันยังไม่สามารถใช้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้อย่างครบถ้วน จากมูลค่าการตลาดที่สูงมากของการให้บริการตลาดดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น การโฆษณาผ่านกูเกิ้ลหรือเฟซบุ๊ก ซึ่งมูลค่าการค้าดังกล่าวประกอบด้วยผู้ประกอบการไทยและผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติแต่มีเฉพาะผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง ในขณะที่ผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติที่ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ แต่มีการใช้บริการในประเทศไทย รัฐสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้อย่างไม่ครบถ้วน ทั้งกรณีการค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (B2B) มีประเด็นปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้เนื่องจากไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย หรืออาจจะเกิดจากการตีความคำนิยามเพื่อที่จะระบุว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศหรือไม่ รวมถึงช่องว่างของอนุสัญญาภาษีซ้อนที่เปิดโอกาสให้มีการโอนย้ายกำไรซึ่งเป็นฐานภาษีเงินได้ไปยังต่างประเทศ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ให้บริการออนไลน์ในประเทศไทยที่มีการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน กรณีปัญหาจากการค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) คือ ประมวลรัษฎากรปัจจุบันยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนที่จะบังคับให้ผู้รับบริการที่เป็นบุคคลธรรมาดนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่รัฐได้ ดังนั้น กรมสรรพากรได้ออกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ....โดยนำกฎหมายของอินเดียมาใช้เป็นต้นแบบในการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ให้มีบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย โดยใช้กลไกการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยแต่ผู้เขียนมีความเห็นว่ากลไกการจดทะเบียนภาษียังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีกับผู้ให้บริการออนไลน์ที่อยู่นอกประเทศไทยได้อย่างแท้จริง ดังนั้น รัฐควรแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้จากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติ โดยนำมาตรการทางภาษี Equalisation Levy มาใช้เพื่อทำให้เกิดความเสมอภาคสำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ซึ่งมาตรการดังกล่าวยังเป็นแนวทางการแก้ไขการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ของธุรกิจดิจิทัลตามหลักขององค์การเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) เพื่อให้มั่นใจว่ากำไรที่เกิดขึ้นในทุกที่ในโลกต้องมีการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง กรณีธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภคควรแก้ไขโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้รับบริการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นแรงจูงใจในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการนำส่งภาษีภาษีให้กับรัฐโดยตัวกลางทางการเงิน จะช่วยแก้ไขปัญหาจากการไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติได้ตามร่างพระราชบัญญัติฯ และแก้ไขปัญหาการเกิดช่องว่างทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เงินที่เป็นรายได้ของรัฐบาลไหลออกนอกประเทศจำนวนมาก รวมถึงปัญหาความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.