Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.36

Abstract

การศึกษาหัวข้องานเอกัตศึกษาเรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่า บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรอยู่ภายใต้กฎหมายการ บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560หรือไม่ เนื่องจากใน มาตรา 4(2) บัญญัตินั้น มีบทบัญญัติยกเว้น มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำของ “รัฐวิสาหกิจ” องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ดำเนินการตามกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษา ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่ง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นหนึ่งในองค์กรรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย การศึกษาดังกล่าวจะช่วยให้เอกชนผู้ประกอบธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ได้รับประโยชน์และ ความเป็นธรรมจากการแข่งขันทางการค้าในตลาดการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และกิจการไปรษณีย์ ทำให้ได้รับการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมที่สุด บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรอยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากการให้บริการของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในปัจจุบัน มีความมุ่งหวังตลาดเดียวกับเอกชนผู้ประกอบธุรกิจอย่างเดียวกันในตลาดด้วย ข้อจำกัดและข้อยกเว้นดังกล่าวถึงไม่ควรเหมารวมกิจการไปรษณีย์ ใน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ทั้งหมดว่าเป็นไป เพื่อ “ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค”ตามมาตรา 4(2) แห่ง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อย่างเดียว ควรมีมาตรการในการจำแนกกิจการว่ากิจการใดอยู่ในข่ายที่ควรได้รับยกเว้นตามมาตรา 4(2) และกิจการใดไม่ โดยตีความตามลักษณะ ว่า “เป็นการแข่งขันกับเอกชน” หรือ “เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยหากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ดำเนินกิจการในลักษณะการแข่งขันกับเอกชนในตลาด โดยใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ หรือใช้กำไรจากบริการที่ผูกขาดไปรษณีย์มาสนับสนุนกิจการ undertaking เห็นเป็นการสมควรต้องบังคับตามกฎหมายพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยมิให้ใช้ยกเว้นหรือประโยชน์จากอำนาจสิทธิขาดที่ได้รับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มา พิจารณาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการศึกษาถึงประเด็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ว่าสมควรตกอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย สมมติฐานของการศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยไม่ได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติของกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางและหลักเกณฑ์ในการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมในธุรกิจไปรษณีย์ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความไม่เหมาะสมในการแข่งขันทางการค้าในธุรกิจไปรษณีย์ในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาแนวทาง นโยบาย และบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้าเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาและกำหนดเงื่อนการแข่งขันทางการค้าในบริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด กับเอกชนคู่แข่ง 4. เพื่อศึกษาแนวทางให้กับภาคธุรกิจเอกชนผู้ประกอบการขนส่งด่วนและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับไปรษณีย์ของเอกชน กับของรัฐ ให้การแข่งขันทางการค้ากันอย่างเป็นธรรมในตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค 5. เพื่อจัดทำแนวทางข้อเสนอแนะและวางแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อการแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรมในภาคธุรกิจไปรษณีย์ในประเทศไทย 6. เพื่อศึกษาแนวทาง มาตรการทางกฎหมาย หลักการ และข้อกำหนดต่างๆของต่างประเทศในเรื่องการแข่งขันทางการค้า เพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้าในประเทศไทย โดยศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 และ ศึกษากรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และพัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้าในประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.