Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Greenwashing by carbon credit trading in Thailand
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
สุมนทิพย์ จิตสว่าง
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of Sociology and Anthropology (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
Degree Name
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.1011
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ศึกษาความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยวิธีการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ตราด และสุราษฎร์ธานี และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร 10 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2556 - 2566 และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ องค์กรไม่แสวงหากำไร ผลการศึกษาพบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การลงทุนรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้เป็นอาชญากรรมในตัวเอง หากแต่มีการใช้เป็นเครื่องมือกระทำความผิดและนำไปสู่การฟอกเขียว การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) ผู้กระทำ 2) กิจกรรมการฟอกเขียว 3) ฟอกเขียวด้วยกลไกคาร์บอน 4) เป้าหมาย 5) ผลกระทบ 6) กระทำด้วยเจตนา โดยผู้กระทำการฟอกเขียว ประกอบด้วย 1) บุคคลธรรมดา มีลักษณะอาชญากรคอปกขาว 2) นิติบุคคล มีลักษณะอาชญากรรมที่กระทำโดยบริษัทหรือธุรกิจองค์กร 3) รัฐ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจากความประมาทจากการประกาศนโยบายของรัฐ หรือการดำเนินการผิดพลาดที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเกิดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ช่องโหว่ของกระบวนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การพึ่งพาการชดเชยมากเกินไป และการใช้กลไกการทำธุรกรรมของกลไกคาร์บอน ความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตนำไปสู่ปัญหาสังคม 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นเครื่องมือการฟอกเขียว และ ก่อให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ในลักษณะห่วงโซ่อาชญากรรม ได้แก่ การฉ้อโกงประชาชน อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม อาชญากรรมคอปกขาว อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมไซเบอร์ การฉ้อโกงภาษี และการฟอกเงิน จากการศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตปรากฎว่า มีความสัมพันธ์กับการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับน้อย มีความสัมพันธ์กับไม่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่การกล่าวอ้าง การทำให้เข้าใจผิดในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์กับการฉ้อโกงประชาชน อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม และอาชญากรรมคอปกขาวในระดับสูง ข้อค้นพบการวิจัย คือ ประเทศไทยมีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมน้อย ปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติ การใช้คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือของการประกอบอาชญากรรม และพัฒนาเป็นห่วงโซ่อาชญากรรม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรมีการพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายมาตรการทางอาญาและมาตรการลงโทษทางแพ่ง สร้างความรับผิดชอบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อม และจัดทำแนวการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเน้นการบูรณาการความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์ รวมทั้งพิจารณาความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ การป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในระดับสากล และพิจารณาการบรรเทาและการฟื้นฟูเยียวยาสิ่งแวดล้อมในบริบทสังคมไทยต่อไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this study is to investigate the phenomenon of greenwashing by carbon credit trading, explore the relationship between greenwashing by carbon credit trading, and the public attitudes towards greenwashing by carbon credit trading in Thailand. The research adopted a mixed-method research approach, involving both quantitative and qualitative research. The quantitative method involved a survey conducted through questionnaires. A simple random sampling method was selected a sample of 400 participants from six provinces: Chiang Rai, Chiang Mai, Bangkok, and Samut Sakhon, Trat, and Surat Thani. Additionally, the qualitative included documentary research from 2012 to 2023, as well as in-depth interviews conducted with 15 key informants from environmental sectors, experts, and non-profit organizations. The findings reveal that the trading of carbon credits has the potential to mitigate the issue of global warming, the development of environmental projects and investments in eco-friendly. Carbon credits are not inherently illicit. However, can be exploited as tools for illegal activities. Greenwashing by carbon credit trading consists of six components: 1) actors, 2) greenwashing activities, 3) carbon mechanisms, 4) targets, 5) impacts, and 6) intentional actions. The actors of greenwashing include 1) individuals involved with white-collar crimes, 2) legal entities involved with cooperate crime, and 3) government entities involved with accidents caused by negligence, contribute to greenwashing and lead to corruption. In this case, Greenwashing by carbon credit trading occurred in three forms: 1): vulnerabilities in the process of carbon credit trading, 2) excessive on carbon offsets, and 3) transactional mechanisms. Regarding the relationship between greenwashing by carbon credit trading, two types of relationships were found: to relieve the issue of global warming and lead to social problems; as carbon credit utilized as a tool for greenwashing and raised to crimes, including frauds, environmental crimes, white-collar crimes, economic crimes, cybercrimes, tax evasion, and money laundering related to chain of crimes. The study also found that public attitudes towards greenwashing by carbon credit trading in Thailand: a weak association with mitigating the issue of global warming, environmental projects, and environmentally friendly investments. However, there is a moderate association with reducing greenhouse gas emissions, leading to claims and mislead. Furthermore, strong association with crimes, fraud, environmental crimes, and white-collar crime. The research findings indicate a lack of environmental awareness, impacts on humanity, The use of carbon credits as a tool for committing crimes, and its development as a chain of crimes. Finally, policy recommendations include developing environmental laws, law measures and penalty measures, fostering organizational responsibility, and creating guidelines of friendly business. Practical, focus on promoting environmental justice, fostering environmental consciousness, enhancing environmental education, and raising awareness through mainstream and online media. Moreover, exploring international cooperation sector for the establishment of task force agencies, preventing environmental crimes at the global level, and considering mitigation and restoration measures for the environment within the context of Thai society are also suggested.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กันทะวงศ์, วนัสนันท์, "การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6721.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6721