Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การวิเคราะห์การแสดงออกของยีน และอิมมูโนฮิสโตเคมิสทรีระหว่างกระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์ และกระดูกปลูกถ่ายเอกพันธุ์ที่ใช้ในการเสริมโพรงอากาศแม็กซิลลา

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

Jaijam Suwanwela

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Prosthodontics (ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Prosthodontics

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.394

Abstract

Quality of bone is an important factor contributing to the success of dental implants. The bone height in maxillary posterior area sometimes is not enough and might pose risks for placing dental implants. Maxillary sinus augmentation with bone substitutes is used for filling and correcting bony defects. This study aims to determine the differences in gene expressions of TNF-alpha, RUNX2, COL1A1, ALP between xenograft (Bio-Oss®) and allograft (SureOss®). Patients who needed two-stage maxillary sinus floor augmentation were included (n=13). Patient who had dental implant at posterior maxilla without bone substitutes was also used in immunohistochemistry analysis (IHC) (n=1). Bone samples were collected using trephine bur 2 mm internal diameter. Quantitative real-time PCR (qPCR) method was used for studying gene expression (n=10). Immunohistochemical staining of ALP was used to visualize the area of osteogenic activity (n= 4). The results of qPCR showed higher RUNX2 expression of allograft when compared to xenograft (p<0.05). Although, TNF-alpha, COL1A1 expression was not statistically different between groups. Immunohistochemistry staining of both samples also showed similar intensity and expression of ALP. The data suggested that gene expression levels of TNF-alpha and COL1A1 were not significantly different between bone grafted with Bio-Oss® and SureOss®. However, the expression of RUNX2 was significantly higher in SureOss®. Nevertheless, result from IHC study showed similar characteristics between both groups.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

คุณภาพของกระดูกเป็นปัจจัยที่สำคัญ และส่งผลถึงความสำเร็จในการทำรากฟันเทียม ส่วนสูงของกระดูกในบริเวณฟันหลังบนในบางกรณีก็ไม่เพียงพอ และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปักรากเทียม การผ่าตัดเสริมโพรงอากาศแม็กซิลล่าด้วยกระดูกทดแทนจึงถูกนำมาใช้ เพื่อแก้ไขกระดูกในตำแหน่งนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของยีน ได้แก่ ทูเมอร์เนคโครซิส แฟกเตอร์-แอลฟา, รันทรีเลททรานสคริปชันแฟคเตอร์ทู, คอลลาเจนวันเอวัน, แอลคาไลน์ฟอสฟาเตท ระหว่างกระดูกขากรรไกรบนที่ได้รับการเสริมด้วยกระดูกวิวิธพันธุ์ (ไบโอ-ออส) เทียบกับกระดูกขากรรไกรบนที่เสริมด้วยกระดูกเอกพันธุ์ (ชัว-ออส) โดยมีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเสริมโพรงอากาศแม็กซิลล่าทั้งหมด 13 คน และมีผู้ป่วยที่เข้ารับการฝังรากเทียมที่ตำแหน่งฟันหลังบนโดยไม่ได้ผ่าตัดเสริมกระดูก เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบในการวิเคราะห์ทางอิมมูโนฮิสเตเคมีจำนวน 1 คน กระดูกจากผู้ป่วยจะถูกเก็บด้วยหัวกรอเทรฟไฟรด์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2 มิลลิเมตร เพื่อมาทำการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนโดยวิธีการเรียลไทม์ พีซีอาร์ (จำนวน 10 ตัวอย่าง) และวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมี ดูการติดสีของแอลคาไลน์ฟอสฟาเตท ในบริเวณที่มีกิจกรรมการสร้างกระดูก (จำนวน 4 ตัวอย่าง) จากผลการทดลองวิธีเรียลไทม์ พีซีอาร์พบว่า การแสดงออกของยีนรันทรีเลททรานสคริปชันแฟคเตอร์ทูในกลุ่มกระดูกเอกพันธุ์มีค่าสูงกว่ากระดูกวิวิธพันธุ์ ระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.05 แต่การแสดงออกของยีนทูเมอร์เนคโครซิส แฟกเตอร์-แอลฟา และคอลลาเจนวันเอวันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม การย้อมสีอิมมูโนฮิสโตเคมีของตัวอย่างทั้งสองกลุ่มแสดงถึงระดับการติดสี และตำแหน่งการติดสีของแอลคาไลน์ฟอสฟาเตทคล้ายคลึงกัน จึงสรุปได้ว่าการแสดงออกของยีนทูเมอร์เนคโครซิส แฟกเตอร์-แอลฟา และคอลลาเจนวันเอวันไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกระดูกที่เสริมด้วยไบโอ-ออส และชัว-ออส แต่พบว่าในชัวออสมีการแสดงออกของยีนรันทรีเลททรานสคริปชันแฟคเตอร์ทูสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ผลจากวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมีแสดงผลที่เหมือนกันระหว่างกระดูกทดแทนทั้งสองกลุ่ม

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.