Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Instructional guidelines based on culturally responsive teaching for undergraduate music education students
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
สยา ทันตะเวช
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Art, Music and Dance Education (ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ดนตรีศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.563
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรู้ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาตรีประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธี (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างวิจัยทั้งหมดคัดเลือกเป้าหมายตามเป้าหมายแนวคิดทฤษฎี (Theory and concept-focused Sampling) มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ คือ a) ประกอบไปด้วยวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร 37 หลักสูตร และศึกษาเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร (N=20) จากนั้น b) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทำการวิเคราะห์ผลร่วมกันจากทั้งสองขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรดนตรีศึกษาทั้ง 37 หลักสูตร มีรายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมทั้งที่เป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ a) แนวเน้นทฤษฎี b) เน้นทักษะปฏิบัติ และ c) แนวเน้นการบูรณาการกับศาสตร์อื่น และผลจากการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร (N=20) และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (N=5) สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1) ด้านจำนวนรายวิชา: รายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรมีจำนวนมากเหมาะสม (M=4.25) และเพียงพอต่อความรู้ที่ควรได้รับตลอดหลักสูตร (M=3.95) และรายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมเหมาะสมจะเป็นรายวิชาเลือก (M=4.00) มากกว่าเป็นวิชาบังคับ (M=3.70) 2) ด้านสถานภาพของรายวิชา: รายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรมีความจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การเป็นครูดนตรี (M=4.65) และเหมาะสมกับการที่มีสถานภาพเป็นรายวิชาแนวผสมผสานบูรณาการกับศาสตร์อื่น (M=4.45) มากที่สุด ถัดมาเป็นแนวการบรรยายทฤษฎี (M=4.10) และแนวปฏิบัติทักษะดนตรี (M=3.90) ตามลำดับ 3) ด้านขอบเขตการจัดการเรียนรู้: ควรมุ่งเน้นเนื้อหาทางวัฒนธรรมดนตรีที่เชื่อมโยงกับชุมชนหรือท้องถิ่น (M=4.40) และมีการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรมดนตรีของผู้เรียน (M=4.15) จากนั้นอาจมีการเพิ่มเนื้อหาที่มีความเชื่อมโยงกับนานาชาติ (M=4.25) และในประเทศ (M=4.20) ตามลำดับ การจัดการเรียนรู้ควรเป็นเนื้อหาที่กว้างและมีความหลากหลาย (M=4.35) มากกว่ากำหนดประเด็นที่ลงลึกและจำเพาะเจาะจงเพียงประเด็นเดียว (M=3.70) สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเชิงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมมีหลักสำคัญใน 4 ประเด็นได้แก่ 1)กำหนดมโนทัศน์หลัก 2)เนื้อหาการเรียนรู้ 3)ผู้สอนและการจัดการเรียนรู้ 4)บริบทพื้นที่การเรียนรู้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were 1) to study the state of learning management and 2) to present guidelines for learning of subjects related to cultural music in the Thai bachelor's degree music education curriculum. Mixed methods were used as a research method. All research samples were selected by theory and concept-focused sampling. The research procedures were as follows: a) It consisted of a qualitative study of 37 curriculum papers and a quantitative study of opinion surveys of instructors and course faculty members (N=20). After that, b) Interviewed Five experts, and the results were analysed together from both stages. The results showed that All 37 music education programs have cultural music courses as both compulsory and elective subjects. It can be divided into 3 categories: a) theory-oriented; b) practical skills-oriented; and c) integrated with other sciences. And the results of the surveyed opinion of instructors in curriculum (N=20) and interviews with experts (N=5) can be summarised as follows: 1) Number of subjects: The number of cultural music courses in the curriculum is appropriate (M=4.25) and sufficient for the knowledge that should be gained throughout the curriculum (M=3.95). 4.00) more than a compulsory subject (M=3.70). 2) Course Status: A cultural music course in the curriculum is necessary to prepare learners to become music teachers (M=4.65) and suitable for having The status is the most integrated subject that integrates with other sciences (M=4.45). Next came the theoretical lecture (M = 4.10) and the music skill practice (M = 3.90), respectively. 3) Scope of learning management: should focus on music and cultural content that is connected to the community or locality (M=4.40) and curriculum that takes into account the learners' musical and cultural background (M=4.15). Contents that are relevant internationally (M=4.25) and holistic country (M=4.20) may be added; respectively, learning management should be broad and diverse (M=4.35) rather than focusing on a single, specific issue (M=3.70). For the approach to learning in subjects related to cultural music that focuses on the importance of culture, there are 4 main principles: 1) Define the main concept 2) Learning Content 3) Teachers and Learning Management 4) Learning Area Context.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กลิ่นจุ้ย, ธีรวิทย์, "แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6273.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6273