Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Lessons learned from the low-income community management process during the covid-19 crisis : a case study : Bankrua Community, Ratchathewi District, Bangkok

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์

Faculty/College

Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Housing (ภาควิชาเคหการ)

Degree Name

เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.488

Abstract

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ.2564 ลามไปทั่วกรุงเทพมหานคร โดยชุมชนแออัดถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนช่วยเหลือชุมชนโดยพบว่า ชุมชนบ้านครัวได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างดี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการชุมชนบ้านครัวในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยศึกษาลักษณะของชุมชนบ้านครัว ก่อนการแพร่ระบาดและศึกษาผลกระทบเมื่อเกิดการแพร่ระบาด โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และสมาชิกชุมชนทั่วไป และผู้เชี่ยวชาญตัวแทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2564 แบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ โดยมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 382 ราย และผู้เสียชีวิต 18 ราย จากสภาพทางกายภาพที่มีการอยู่อาศัยอย่างแออัดทำให้เกิดการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างรวดเร็ว โดยทางด้านเศรฐกิจมีผู้ได้รับกระทบโดยขาดรายได้ ทางสังคมเกิดการงดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางศาสนา โดยชุมชนบ้านครัวมีกระบวนการจัดการวิกฤติโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.กิจกรรมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชุมชนเองได้แก่ 1) การจัดตั้งครัวชุมชนแจกจ่ายอาหารและสิ่งของที่จำเป็น 2) การประกาศปิดทางเข้าออกชุมชนคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อ 3) การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร ร่วมกับ กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์พัฒนาบ้านครัว เพื่อช่วยเหลือตนเอง 2.ชุมชนบ้านครัวมีการประสานงานและได้รับความช่วยเหลือและงบประมานจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนที่ทำให้เกิดกิจกรรม คือ 1) การสอบสวนโรคเพื่อหาจุดเสี่ยงและทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 2) การจัดประชุมออนไลน์เพื่อให้ความรู้ 3) การวิเคราะห์ผังชุมชนที่เป็นจุดด้อย 4) การเข้าร่วมส่งผู้ป่วยกักตัวที่ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 พาณิชยการเจ้าพระยา 5) การนัดตรวจโควิดเชิงรุกผู้อาศัยบ้านครัว 6) การจัดตั้งศูนย์ประสานงานในชุมชน บทเรียนเความสำเร็จด้วยปัจจัยต่าง ๆ คือ 1) เป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่มีประวัติการต่อสู้มายาวนาน และผ่านกระบวนการบ้านมั่นคงจึงมีความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและการจัดการตนอง 2) แกนนำชุมชนมีความเข้มแข็งและได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน 3) ชุมชนสามารถสื่อสารความต้องการ เปิดรับและคัดสรรความร่วมมือจากภาคีต่างๆอย่างเหมาะสม โดยมีคนในชุมชนเป็นกำลังหลักในการจัดการ 4) ความจำเป็นในการจัดการอาหารฮาลาลด้วยชุมชนเอง เพิ่มความเข้มแข็งชุมชน 5) การเกิดกิจกรรมการจัดการด้านกายภาพของบ้านและชุมชนร่วมกับภาคีในการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤตในอนาคต ครัวเรือนควรมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีการเปิดระบายอากาศและแสงเข้าถึงได้มากขึ้นและปรับปรุงห้องน้ำให้ใช้งานได้อย่างถูกสุขลักษณะ ชุมชนควรมีการจัดพื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อเป็นพื้นที่ให้กลุ่มอาสาสมัครใช้ในการประสานงานช่วยเหลือ ควรมีการจัดกิจกรรมทางด้านอาหารเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนและป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงเป็นการเสริมสร้างพลังแก่ชุมชน ข้อเสนอต่อหน่วยงานภายนอก ควรมีการทำงานด้วยข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีความเชื่อมโยงประสานกันระหว่างแต่ละหน่วยงาน ข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการชุมชนเมื่อเกิดภาวะวิกฤติในอนาคต คือควรมีการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปใช้ในการออกนโยบายและนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน ที่มีทุนมนุษย์และทุนสังคมที่แตกต่างกัน และควรสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) ให้กับทุกชุมชนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

In early April 2021, the COVID-19 rapidly spread throughout Bangkok, and slum communities were considered a particularly high-risk area. The Community Organization Development Institute, tasked with helping the community, found that the Ban Krua community was severely affected, yet it was one of the slum communities that had proper community management. The objective of this study is to extract lessons from the management process of the Ban Krua community during the COVID-19 pandemic by studying the characteristics of the Ban Krua community both before the pandemic and how the community was impacted during the pandemic. The study used a qualitative research method, studying information from documents and structured interviews with community leaders, volunteers, general community members, and experts representing relevant network partners. The impact of the COVID-19 crisis between May and October 2021 can be divided into 5 phases, with a total of 382 cases of infection and 18 deaths from physical conditions with crowded housing causing the rapid spread of COVID-19. In an economy affected by lack of income, social groups refrained from gathering for religious activities. The Ban Krua community had a 2-part process to manage the COVID-19 crisis: 1. activities arising from the community group itself by 1) establishing a community kitchen to distribute food and essential items. 2) announcing the closure of the entrance, 3) establishing a group of volunteers together with the Ban Krua Community Development Savings Cooperative Group to help themselves; 2. the Ban Kua community was coordinated and received assistance and budget from government agencies and private organizations for the following activities: 1) disease investigation to find risk points and clean up housing, 2) organizing online meetings to educate the community, 3) analysis of community layouts to find weak points, 4) participation in sending quarantined patients to the COVID-19 quarantine center at Chao Phraya Commercial Bank, 5) arranging for proactive COVID-19 testing for residents of the Ban Krua community, and 6) establishment of a coordination center within the community. The reason the community was considered a success was due to various factors: 1) being a strong community with a long history of fighting, and through the Baan Mankeng process, they were ready in terms of information and self-management; 2) the community leaders are strong and receive cooperation from community members; 3) the community is able to communicate their needs and appropriately select and accept cooperation from various parties, with people in the community as the main management force; 4) the need for halal food management by the community, which strengthened the community; and 5) the occurrence of physical management activities of houses and communities with partners in the design process through participatory processes. Based on the findings of this study, recommendations for low-income communities in future crises include households improving their homes to provide more ventilation and light access as well as improving their bathrooms for hygienic use. Also, a community should set up space for a coordination center to serve as a space for volunteer groups to coordinate assistance. Food activities should be organized to help community members and prevent the spread of disease as well as empower the community. In terms of proposals to external agencies, there should be accurate basic information and coordination between each department. Regarding recommendations for policy makers on community management in the event of future crises, there should be a complete collection of basic information to be used in policy formulation and the implementation of policies suitable for each community, as each community is different in terms of human and social capital, and policy makers should create a heath literacy program for every community to have social immunity.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.