Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Selected factors related to preventive behaviors with the coronavirus 2019 among to emergency medical responders, Thailand
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.443
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระหว่างความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม การเปิดรับข่าวสาร และพฤติกรรมกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ประเทศไทย การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ในประเทศไทย จำนวน 165 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ 8 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย 1) ปัจจัยด้านทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และการเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และการเปิดรับข่าวสาร โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 66.7
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research study was to examine the related factors and predictors of knowledge, attitude, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, behavior regarding knowledge management, social support, media exposure, and preventive behaviors related to COVID-19 among emergency medical responders in Thailand. This descriptive correlational study involved 165 emergency medical responders selected through a multi-stage sampling technique. Data were collected using an 8-part questionnaire. Descriptive statistics, Spearman's rank correlation coefficient, and stepwise multiple regression were used for data analysis. The findings were as follows: 1) Attitude, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, behavior regarding knowledge management, social support, and media exposure were positively related to preventive behaviors related to COVID-19 among emergency medical responders at a statistically significant level of .05. 2) The factors that predicted preventive behaviors related to COVID-19 among emergency medical responders at a statistically significant level of .05 were social support, perceived benefits, and media exposure. These predictive factors accounted for 66.7 percent of preventive behaviors related to COVID-19 among emergency medical responders.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พฤทธยานันต์, จารุวรรณ, "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ประเทศไทย" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6153.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6153