Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Contemporary conservative Thai painting course development for undergraduate art education curriculum

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

อภิชาติ พลประเสริฐ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Art, Music and Dance Education (ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ศิลปศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1033

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ การอนุรักษ์ และการจัดการเรียนการสอนจิตรกรรมไทย 2) พัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1) ผู้เชี่ยวชาญ 5 ด้าน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปศึกษา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปบัณฑิต ศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทย นักอนุรักษ์จิตรกรรมไทย นักประวัติศาสตร์ศิลป์และทฤษฎีศิลป์ 2) สถาบันระดับปริญญาบัณฑิตที่มีการสอนรายวิชาเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยในหลักสูตรศิลปศึกษา จำนวน 2 แห่ง 3) นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการสอน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลงาน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบรับรองรายวิชา ผลการวิจัยพบว่ารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยประเพณี การอนุรักษ์จิตรกรรมไทย และจิตรกรรมไทยร่วมสมัยทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ได้ 2) เนื้อหา ด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ได้แก่ คุณค่าในด้านเนื้อหา รูปแบบ และเทคนิควิธีการ ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ได้แก่ การอนุรักษ์ในเชิงสงวนรักษาที่ครอบคลุมถึงหลักการอนุรักษ์เชิงป้องกัน และการอนุรักษ์ในรูปแบบศึกษาและเผยแพร่ ด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ได้แก่ แนวทางและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความร่วมสมัย 3) วิธีการสอน ใช้การบรรยายในด้านทฤษฎี ส่วนการปฏิบัติใช้วิธีการสาธิตและให้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง พร้อมทั้งมีการศึกษานอกสถานที่ 4) สื่อการสอน ได้แก่ วัสดุในการทำงานจิตรกรรมไทยของผู้เรียน ภาพประกอบการบรรยาย รวมถึงผลงานและสถานที่จริง 5) การวัดและประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย วัดจากความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับคุณค่าของจิตรกรรมไทยประเพณีและหลักการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ด้านทักษะพิสัย ประเมินทักษะปฏิบัติการทดลองเทคนิคทางด้านจิตรกรรมไทยและผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ โดยประเมินกระบวนการทำงานควบคู่ไปกับผลงาน จิตพิสัย วัดจากการนำเสนอคุณค่าทางด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ผลจากการประเมินผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ของผู้เรียนจากการทดลองใช้รายวิชาพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม โดยในด้านเนื้อหา ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการประยุกต์ใช้เนื้อหาเรื่องราวทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ผลงาน ด้านเทคนิคและกระบวนการ ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการเลือกใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม และด้านการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในส่วนของความสมบูรณ์ของผลงานการสร้างสรรค์ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรายวิชาที่ทำการทดลงใช้พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (x=4.88) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านของสื่อการสอนที่ใช้ในการสาธิตและทดลองปฏิบัติงาน และผลการตรวจรับรองรายวิชาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aimed 1) to study processes of creating, preserving and teaching Thai traditional paintings, 2) to develop contemporary Thai painting course for the Bachelor of Art Education Program. This research and development project used 3 purposive sampling groups: First, specialists in 5categories, including instructors of Thai painting from Art Education Program; instructors of Thai paintings from the Bachelor of Visual Art Program; contemporary Thai artists with experience in creating Thai art; Thai painting conservators; art historians and art theoreticians. Second, 2 higher education institutes which teach Thai painting in an art education program. Third, undergraduate students in a Bachelor of Art Education program. Research tools included interview question, teaching observation, behavioral observation, painting evaluation, satisfaction assessment, and course approval forms. The research result showed that the Conservative Contemporary Thai Painting Course consisted of 5 components 1) Learning objectives—to provide students with knowledge of Thai traditional painting, conservation processes of Thai traditional painting, Thai contemporary paintings, both in theory and practice, in order to enable the students to develop conservative Thai contemporary paintings. 2) Contents — In Thai traditional painting aspect: values of forms, contents and techniques; In Thai paintings conservation aspect: preventive conservation, and conservation in forms of education and publication. In contemporary Thai painting aspect: guidelines and methods of creating Thai contemporary art. 3) Teaching methods—lecturing, demonstration, students’ self-practice, and educational field trips. 4) Teaching media — Thai traditional art materials, illustrations and authentic samples of artworks, historical sites, materials and working activities in Thai traditional art institutes. 5) Evaluations — For Cognitive Domain: evaluating student’s knowledge on values of Thai traditional painting, principles of Thai traditional painting conservation. For Psychomotor Domain: evaluating practical skills in creating Thai contemporary painting. For Affective Domain: evaluating from students’ working process, complete work of art, and presentation of its values. The overall evaluation result of students’ artworks created during the teaching experimentation with principal activities from the subject developed from this research was “Excellent”. In terms of content implication in the creative process, students succeeded in applying knowledge of Thai social and cultural wisdoms to produce their art works. In terms of working processes, students scored highest in the aspect of selecting suitable materials. In terms of creation of artwork, students scored highest in the aspect of completeness of final work. The result of student’s satisfaction assessment after the experimentation rated “Highly Satisfied” (x= 4.88). The aspects of the assessment rated the highest were teaching media used for teacher’s demonstration and for students’ self-practice. Lastly, the course developed from this research was assessed by 3 experts. The course was certified with the score at the highest level.

Included in

Art Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.