Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Curriculum research and development using digital participation for empowering caregivers' child healthcare literacy
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Second Advisor
สุวิมล ว่องวาณิช
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.886
Abstract
ความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการูแลเด็กของผู้ดูแล ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรได้รับการพัฒนาให้สามารถดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็ก 2) เพื่อวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็กในชุมชนและประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็กในชุมชนจากผลการพัฒนาหลักสูตร โดยจำแนกการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก และสร้างเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กจากการบูรณาการ 2 แนวคิด ได้แก่ 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) การเลี้ยงดู ในลักษณะเป็นพหุมิติภายในข้อคำถาม ส่วนที่ 2 กระบวนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร และส่วนที่ 3 แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล ใช้การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับการนำแนวคิดการเสริมพลังและแนวคิดการมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทของชุมชน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลที่สร้างขึ้นตามโมเดลการวัดแบบพหุมิติ มี 2 องค์ประกอบหลัก คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเลี้ยงดู ในแต่ละข้อคำถามถูกออกแบบให้เป็นพหุมิติภายในข้อคำถาม คือ มีคุณภาพทั้งการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีการตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในจากตัวอย่างจำนวน 345 คน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง .820 ถึง .903 และคำนวณค่าสัมประสิทธิ์โอเมกา อยู่ระหว่าง .827 ถึง .905 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุมิติของโมเดลการวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก พบว่าโมเดลการวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( / (343, N=345) = 446.23, p = .0001, CFI = .979, TLI = .974, SRMR = .051, RMSEA = .030, AIC = 14556.473, BIC = 15140.692) และมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( / df) เท่ากับ 1.30 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 แสดงว่า ยอมรับสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ผลการวิเคราะห์ระดับความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีระดับความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในส่วนของโมเดลความรอบรู้ด้านสุขภาพและโมเดลการเลี้ยงดู พบว่าผู้ดูแลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเลี้ยงดูอยู่ในระดับมากทุกด้าน และพบว่าผู้ดูแลเด็กที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเป็นผู้ดูแลเด็ก ภูมิภาคที่ปฏิบัติงาน และมีประวัติการเข้ารับการพัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในการดูแลเด็กแตกต่างกันจะมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กระบวนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร จำแนกออกเป็นวงจรการวิจัย 2 วงจร ประกอบด้วย วงจรการวิจัยที่ 1 การออกแบบกลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และวงจรการวิจัยที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ในแต่ละวงจรมี 2 ระยะ คือ ระยะการวิจัย (R) และระยะการพัฒนา (D) โดยผสมผสานระหว่างการจัดกิจกรรม ณ สถานที่ตั้งและการจัดกิจกรรมทางออนไลน์โดยใช้เครื่องมือทางดิจิทัลที่หลากหลาย 4. ผลที่เกิดขึ้นในกระบวนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร พบว่า ทีมนักวิจัยชุมชนมีทักษะการพัฒนาหลักสูตรและความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพเด็กสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม และในการนำสู่การปฏิบัติ ผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมอบรมภายหลังการเข้าร่วมอบรมตามหลักสูตรมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพเด็กสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอบรม 5. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลมี 3 หลักการ ได้แก่ หลักการออกแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั่วไป หลักการออกแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะด้านการดูแลสุขภาพเด็ก และหลักการออกแบบหลักสูตรและการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ และได้คู่มือ 2 ชุด ประกอบด้วย คู่มือกระบวนการพัฒนาหลักสูตรฯ และคู่มือหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กสำหรับครูปฐมวัย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The healthcare knowledge of caregivers in taking care of children is very important. People who take care of children should be able to look after them effectively. The purposes of this study were: 1) to develop a measurement for caregivers' child healthcare literacy, 2) to conduct curriculum research and development using digital participation for empowering caregivers' child healthcare literacy, and 3) to develop a curriculum using digital participation for empowering caregivers' child healthcare literacy guidelines in the community. This study was divided into 3 parts. Firstly, a tool to measure caregivers' child healthcare literacy has been developed by analyzing the component of childcare literacy. In addition, a caregivers' child healthcare literacy tool is created by integrating 2 concepts: 1) health literacy and 2) nurturing care in a multidimensional within-item. Secondly, the curriculum research and development process are conducted. Finally, curriculum development using digital participation for empowering caregivers' child healthcare literacy guidelines is studied by using curriculum research and development with empowerment and digital participation concepts to develop curricula that are aligned with the context of the community. The results are as follows: 1. The multidimensional measurement model of healthcare literacy, according to the components of health literacy and nurturing care, has an adequate level of content validity (IOC) range of 0.60–1.00. There were 345 child caregivers sampled. The reliability of the questionnaire was determined on standardized criteria (Cronbach’s alpha coefficient =.820-.903, and Omega coefficient =.827-.905). The caregivers’ child healthcare literacy components were fit to the empirical data ( /(343, N=345) = 446.23, p = .0001, CFI = .979, TLI = .974, SRMR = .051, RMSEA = .030, AIC = 14556.473, BIC = 15140.692). The relative chi-squared yielding a value of 1.30, which is less than 2, indicates that the main hypothesis is accepted that the measurement model is in harmony with the empirical data. 2. The results of the analysis of the caregiver's child healthcare literacy levels showed that the caregivers had a high level of overall healthcare literacy. When considering health literacy and the nurturing model, it was found that caregivers were well versed in health literacy and nurturing care at a high level in all aspects. Additionally, it was also found that the caregivers of different genders, education levels, working experience as a child caregiver, working locations, and historical records of skills and knowledge development of child care practices have the mean significant difference at .05 level for children’s healthcare literacy. 3. The curriculum research and development process are divided into 2 research cycles, consisting of research cycle 1, the design of the strategy for participation of related people, and research cycle 2, curriculum development using digital participation for empowering caregivers’ child healthcare literacy. There are two phases in each cycle: the research phase (R) and the development phase (D), combining on-site activities and online activities using a variety of digital tools. 4. As a result of the curriculum research and development process, it was discovered that the community research team had more expertise in developing curricula and knowledge of child health care after engaging in the activity than they had previously. After the implementation process, after attending the course, caregivers had a greater understanding of how to take care of children than they had before. 5. There are three principles for curriculum development using digital participation for empowering caregivers' child health care: general principles of curriculum development process design, principles of curriculum development process design specific to child health care; and design principles of curriculum development and implementation. The two manuals include the curriculum development process manual and the curriculum of a workshop for empowering caregivers’ child health care literacy for preschool teachers.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ครุฑางคะ, ภัทร์พิชชา, "การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5428.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5428