Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Predictive factors on consumers' purchase intention for luck enhancement products and services
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.674
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค 2) เพื่อสำรวจการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค และ 3) เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่เคยมีประวัติซื้อสินค้าหรือใช้บริการด้านการเสริมดวงชะตา 400 คน ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 24 – 41 ปี อยู่ระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระดับ 15,001 – 30,000 บาท สำหรับพฤติกรรมด้านการซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ส่วนใหญ่ใช้บริการการดูดวง อยู่ที่ 3 – 5 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 300 – 500 บาท โดยเน้นวัตถุประสงค์ในเรื่องความรัก ส่วนใหญ่มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา จากเพื่อนฝูง ครอบครัว คนใกล้ตัว และตัดสินใจซื้อและใช้บริการด้วยตัวเอง มีการเปิดรับสื่อข่าวสารข้อมูลด้านช่องทางการเปิดรับสื่อออนไลน์และออฟไลน์ และทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดของสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับ, ด้านช่องทางการเปิดรับสื่อ, ด้านเนื้อหาการเปิดรับสื่อ ในระดับมากทั้งหมด ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านอารมณ์ความรู้สึก อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทั้งหมด เช่นเดียวกันกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาพบว่าเห็นด้วยในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ช่วงอายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่แตกต่างกัน และปัจจัยพยากรณ์ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตามีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา ส่วนปัจจัยพยากรณ์ด้านการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาไม่มีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were 1) to explore the media exposure, attitude toward marketing communication, and attitude toward luck enhancement products and services of consumers; 2) To survey consumers' purchasing behavior of luck enhancement products and services; 3) to describe the influence of media exposure, attitude toward marketing communication and attitude of luck enhancement products and services toward consumers' purchasing behavior of luck enhancement goods and services. This is quantitative research that collects data with a questionnaire from 400 consumers who purchased or used luck enhancement products and services. The results showed that most of the 400 sample consumers were female, aged 24 – 41 years, had bachelor's degree, were employees of private companies, and had an average monthly income of 15,001 - 30,000 baht. As for their purchasing behavior of luck enhancement products and services, they often use fortune-telling services 3-5 times per month, 300 – 500 baht per time, and focus on the purpose of love. Most of them are exposed to information about luck enhancement products and services from friends, family, and close ones, and they decide to purchase and use them by themselves. They exposed information about luck enhancement products and services in terms of online/offline platforms as well as the attitude toward marketing communication of luck enhancement products and services in terms of types, channels, and content, are all high-level exposure. The attitude toward luck enhancement products and services in terms of knowledge and emotion are at all high levels. Likewise, the purchasing behavior of luck enhancement products and services is at a high level. The hypothesis testing results showed that different ages of consumers affect different attitudes towards luck enhancement products and services. The attitude toward luck enhancement products and services can influence the decision to purchase luck enhancement products and services of the consumers. On the other hand, exposure to luck enhancement products and services had no influence on the consumers' purchasing behavior of luck enhancement products and services.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หิรัญศุภโชค, พรรณวดี, "ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5216.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5216