Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of mobile-assisted language learning application using task-based approach and gamification to enhance junior high school students’ English writing skills

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ประกอบ กรณีกิจ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Communication and Technology (ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.450

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้และความต้องการจำเป็นของผู้ใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สร้างการสร้างโมไบล์แอปพลิเคชันกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาในการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้และความต้องการจำเป็นประกอบด้วยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 655 คนและครูผู้สอนมัธยมศึกษาจำนวน 5 คนและตัวอย่างในการทดลองเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 35 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะลง เครื่องมือที่ใช้ทดลองการวิจัยได้แก่ 1) โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการการจัดการเรียนรู้ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ภาระงานเขียนภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ 3) เกณฑ์การประเมินทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ ในกระบวนการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยกำหนดเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรราฐาน การทดสอบทีและ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. การสำรวจและการสัมภาษณ์ประสบการณ์ผู้ใช้และความต้องการจำเป็นของนักเรียนและครูในระดับมัธยมศึกษาตอนนั้นพบว่าผู้เรียนมีความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ นักเรียนมีความต้องการเรียนทักษะการเขียนที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักเรียน ผ่านการศึกษาข้อผิดพลาด ตัวอย่างงานเขียน และรูปแบบการเขียน พร้อมกับการประเมินจากเพื่อนผู้เรียนและผลป้อนกลับที่มีประโยชน์จากครูผู้สอน 2. กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบได้แก่ 1) Pre-Task 2) Task Process และ 3) Language focus และ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) Selecting themes 2) Exploring topics 3) Drafting ideas 4) Editing tasks 5) Giving feedbacks 6) Review submissions และ 7) Concluding findings 3. การวิเคราะห์ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน พิจารณาข้อมูลจากคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและการทดสอบหลังเรียนใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบที พบว่า ในภาพรวมการทดสอบก่อนเรียนมีระดับคะแนนอยู่ในระดับที่ ดี (Mean=18.08, SD= 4.74) และการทดสอบหลังเรียนมีระดับคะแนนอยู่ในระดับที่ ดีมาก (Mean=22.48, SD= 3.07) โดยมีความแตกต่างของคะแนนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ พบว่าในภาพรวมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าคะแนนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษสูงขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=1579.266, sig=.000) 5. นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ว่า กิจกรรมการเรียนโดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมมาก

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research were 1) to study the user experience and needs related to mobile-assisted language learning application using task-based approach and gamification to enhance junior high school students’ English writing skills 2) to develop mobile-assisted language learning application and learning processes using task-based approach and gamification to enhance junior high school students’ English writing skills 3) to implement the mobile-assisted language learning application and learning process using task-based approach and gamification to enhance junior high school students’ English writing skills. The sample were 665 junior high school students as the online survey respondents and 5 high school teachers as the interviewees. The experiment sample were 35 junior high school students by simple sampling. The research instruments consist of the web application, the learning process, English writing tasks, English writing tests, scoring writing rubrics, and questionnaire of student's satisfaction. The experimental period lasted for 8 weeks. The data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation, priority needs index, t-test dependent, and One-Way ANOVA with Repeated Measure Analysis. The research result indicated that: 1. Junior high school students were able to use the Internet on a regular. Students want to learn writing skills relevant to the student's experience through the study of writing errors, writing samples, writing styles, peer assessment, and constructive feedback from teachers. 2. The learning process of Mobile-Assisted Language Learning Application using Task-Based Approach and Gamification to Enhance Junior High School Students’ English Writing Skills consisted of 3 components: 1) Pre-Task 2) Task Process 3) Language focus, and 7 steps as follows: 1) Selecting themes 2) Exploring topics 3) Drafting ideas 4) Editing tasks 5) Giving feedbacks 6) Review submissions and 7) Concluding findings. 3. The experiment result indicated that the samples had English writing skills in the post-test was higher than the pre-test at the .05 level of significance 4. The difference of mean scores in English writing tasks showed that there was the difference between English writing scores at the .05 level of significance (F=1579.266, sig=.000). 5. The result of satisfaction showed that the learning process and web application were very satisfied.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.