Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The relationship between language and ideologies in the discourse of parenting by medical speacialists: a critical discourse analysis

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริพร ภักดีผาสุข

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Department (if any)

Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)

Degree Name

อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.943

Abstract

วาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้รับการนำเสนอจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางว่าเป็นวิธีการเลี้ยงลูก “ที่ดีเหมาะสม” ในสังคมปัจจุบันและมีการเผยแพร่ไปในวงกว้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้กรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995) ผลการวิเคราะห์ตัวบทพบว่า วาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนำเสนออุดมการณ์ 3 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์การเลี้ยงลูก “เชิงบวก” อุดมการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว และอุดมการณ์ความรุนแรงในสังคมไทย อุดมการณ์ทั้งสามสอดรับและสัมพันธ์กัน กลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์มีทั้งสิ้น 35 กลวิธี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) การแสดงความมีหลักวิชาการและเหตุผล มี 14 กลวิธี เช่น การใช้คำศัพท์ทางวิชาการ การใช้คำศัพท์ทางกฎหมาย การใช้ข้อความแสดงเหตุผล 2) การใช้น้ำเสียงที่มีอำนาจ มี 19 กลวิธี เช่น การใช้คำคู่ตรงข้ามที่แสดงการประเมินค่า การใช้คำที่มีผลในการประเมินคุณค่า การใช้คำแสดงผลลัพธ์ และ 3) การใช้วาทกรรมแห่งมิตร มี 2 กลวิธี ได้แก่ การใช้สหบท และการใช้วัจนลีลาเป็นกันเอง กลวิธีทั้งหมดทำให้เห็นว่าวาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนำเสนอความคิดของตนเองในด้านบวกและนำเสนอความคิดของผู้อื่นในด้านลบ ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่า ตัวบทผลิตโดยกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดเรื่องการเลี้ยงลูก “เชิงบวก” และต้องการให้ผู้รับสารนำไปปฏิบัติ ตัวบทเผยแพร่ผ่านพื้นที่เสมือนในสื่อสังคมออนไลน์ เอื้อต่อการผลิตซ้ำและกระจายไปสู่กลุ่มผู้รับสารในวงกว้าง ตัวบทมีการใช้น้ำเสียงจริงจังในเชิงสั่งสอนหรือออกคำสั่งเป็นหลักแต่ผสานวัจนลีลาแบบเป็นกันเองทำให้ตัวบทมีลักษณะเป็นวาทกรรมแห่งมิตร ผู้รับสารตีความได้ว่า วาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสารนั้นถูกถ่ายทอดมาจากความหวังดี ผู้รับสารมีหน้าที่เรียนรู้และนำไปปฏิบัติตาม ตัวบทมีการจัดเรียงระเบียบวาทกรรมที่ซับซ้อน คือ ใช้ “วาทกรรมการอบรมสั่งสอนเรื่องการเลี้ยงลูก” ผสมผสานกับ “วาทกรรมการแพทย์” บ่งชี้ให้เห็นสถานการณ์ทางสังคมที่แพทย์ก้าวล้ำเข้ามาในพื้นที่ของครอบครัว เกิดการเชื่อมโยงระหว่างวิถีปฏิบัติทางสังคมของวาทกรรมครอบครัวเข้ากับวาทกรรมการแพทย์ อุดมการณ์ที่นำเสนอผ่านวาทกรรมจึงมีแนวโน้มว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อความคิด การกระทำของกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งก็คือพ่อแม่ในสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมพบว่า สถานการณ์หรือปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับ การผลิตและบริโภคตัวบทเกิดจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 5 ประการ ได้แก่ 1) การรับแนวคิดเรื่องการเลี้ยงลูก “เชิงบวก” จากสังคมตะวันตก 2) แนวทางการเลี้ยงลูกในสังคมไทย 3) สภาพพื้นฐานของสังคมไทย 4) แนวคิดเรื่องปัจเจกนิยม 5) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจและความรุนแรงในสังคมไทย ผลทางอุดมการณ์ที่อาจมีต่อผู้รับสารและสังคมไทยมี 4 ประการ ได้แก่ 1) การนำเสนอแนวทางการเลี้ยงลูกที่ “พึงประสงค์” สู่กลุ่มผู้อ่านในสังคมไทย 2) การกำหนดแบบแผนความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว 3) การประกอบสร้างภาพสมาชิกที่ “พึงประสงค์” ของสังคมไทย 4) การนำเสนอภาพการใช้อำนาจและความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อเด็กเพื่อนำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกให้แก่พ่อแม่ในสังคมไท กล่าวโดยสรุป ผลการศึกษานี้เผยให้เห็นว่า กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการประกอบสร้างและสื่ออุดมการณ์การเลี้ยงลูกและเห็นบทบาทของวาทกรรมที่พยายามเข้ามากำหนดความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ผลการศึกษานี้ช่วยสร้างความ “รู้เท่าทัน” วาทกรรมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการตัดสินประเมินค่าว่าการเลี้ยงลูกแบบใดเป็น “เชิงบวก” หรือ “เชิงลบ” นั้นเป็นการมองแบบรวบยอดและแฝงอคติ ที่จริงแล้วแนวทางการเลี้ยงลูกทุกแนวทางน่าจะมีทั้ง “ด้านบวก” และ “ด้านลบ” ในการเลือกแนวทางการเลี้ยงลูกพ่อแม่ควรจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบด้านเพื่อไม่ให้ถูกครอบงำด้วยการตัดสินเชิงประเมินค่า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The discourses of parenting by medical specialists have been presented by the specialists as “appropriate” way for child raising and publicized to a range of audience. This research aims at analyzing the relationship between language and ideologies in discourse of parenting by medical specialists that were presented in Facebook page during October 4, 2018 and December 31, 2017. Critical Discourse Analysis (Fairclough 1995) is adopted as analytical framework. The analysis reveals that the discourses of parenting by medical specialists represent three ideologies namely the ideology of “positive” parenting, the ideology on relationship between family members, and the ideology on violence in Thai society. These three ideologies are interrelated. It is found that thirty-five linguistic devices are adopted for representing these ideologies. These devices can be categorized into three groups namely 1) devices for demonstrating scientific ground and principles, 2) devices for expressing an authoritative voice, and 3) devices for expressing a discourse of friendship. The first group comprises fourteen devices; for instance, using of scientific terms, using of legislative terms, and using of cause and effect semantic structure of statements. The second group comprises nineteen devices; for example, the use of contrastive terms of appraisement, the use of lexical terms with appraising implication, and the use of lexical terms signifying effective results. The last group consists of two devices including the use of intertextuality and the use of a casual language style. Overall, these devices demonstrate that in the parenting discourse, the medical specialists tend to positively present their ideas while negatively present others’ ideas. The analysis of discursive practice reveals that the texts of parenting discourse aims at proposing the ideas of “positive” parenting and persuading the readers to take the advices. The texts were publicized in virtual space via online social media which made them easier to be reproduced and distributed to a wide audience. The authoritative voice aiming for instructing and guiding the audience is mainly adopted in the texts. However, the casual speech style is also adopted making the texts to appear more appealing as a discourse of friendship. The use of these strategies leads to the perception that the parenting discourse by the medical specialists is reliable and trustworthy resources created with good intentions for the audience. Therefore, the readers should take and follow the advices. In terms of order of discourse, the texts demonstrate a combination between child raising discourse and scientific discourse. This blending indicates how the medical specialists are crossing the line into the household domain in Thai society. This leads to the combination between discursive practices of the child raising and the medical advising. Thus, it is highly possible that the ideologies represented in this new discourse can have certain influences upon parents in Thai society who are the main target audience. In terms of analysis of socio-cultural practices, it is found that there are five socio-cultural situations and factors affecting the text production and text consumption including 1) the advent of positive parenting ideology from the western culture; 2) original ways of child raising in Thai society; 3) fundamental conditions of Thai society; 4) the concept of individualism and 5) the problems caused by the use of force and violence in Thai society. The analysis reveals that ideological effects that may be caused by this discourse include 1) an introduction of “desirable” ways of child raising to readers in Thai society; 2) an attempt to redefine the relationship patterns among family members; 3) the construction of the representation of “desirable” members of Thai society and 4) the representation of the impact caused by the use of force and violence in Thai society in order to legitimize and call for an adjustment of child raising in Thai society. In conclusion, the findings of this study reveal how the medical specialists adopt language as devices for constructing and representing the ideologies on child raising and demonstrate the roles of the “positive” parenting discourse in shaping the ideas of the relationship among family members. It is anticipated that the findings of this research may help raising the readers’ awareness of the biased and stereotypical judgement of the parenting discourse by the medical specialists upon the ways of child raising in Thai society. In fact, every pattern of child raising tend to have both “positive” or “negative” aspects. Thus, parents should consider them carefully in order to select an appropriate way for raising their children. In so doing, they will not be manipulated by the biased judgement by certain discourse.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.