Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ภูมิทัศน์สัญญะของพื้นที่ท่องเที่ยวทางเพศในกรุงเทพมหานคร

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

Pavadee Saisuwan

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

English as an International Language

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.181

Abstract

Sex tourism, though a potentially significant site of investigation, has received limited scholarly attention in the semiotic landscape research in the past two decades. Addressing this gap, I interrogate the discursive construction of Bangkok sex tourism spaces focusing on Silom areas, Cowboy alley, Nana Plaza. The study aims to identify the patterns of linguistic and semiotic choices in sexed signs, analyze the role of linguistic and semiotic resources in indexing gender and sexuality, and investigate the discursive construction of Bangkok sex tourism spaces. The data comprised 122 photographed sexed signs. I also did the non-participant observation in the areas investigated for approximately five months. The analysis focused on the shop signs and promotional signs appearing in bars. An integrated framework from code preference, visual social semiotics, lexicalization, linguistic fetish, language and desire was used to examine the sexed signs. Findings reveal that English-only, English-Thai, and English and other languages are the linguistic patterns in the sexed signs where English-only emerges to be prominent both in terms of its frequency and its salience. The semiotic patterns include the use of the human body, body part, animal, and object. The male body, the female body and the trans woman body appear in shadow figures in shop signs while appear as photographic images in promotional signs. Linguistic and semiotic resources both contribute to the construction of gender and sexual identities. Lexicalization processes emerging from the data include personalizing, characterizing, fetishizing, heterosexualizing, queering and fantasizing. Certain lexical items are significant indexes of gender and sexual identities, particularly "boy" and "male" for male homosexuals, "ladies" and "girls are for female heterosexuals and "ladyboy" for trans women. The female body is indexed by wavy hair, heels and shadow nudity while the trans woman body by bikinis. This is the case in signs located in Cowboy alley, Nana Plaza and Phatphong 1, the areas known to be dedicated to male heterosexual audiences. The muscular male body is displayed in signs located in Phatphong 2 and Silom 4, the areas targeting queer audiences and particularly male homosexuals. Findings have illustrated that Bangkok sex tourism spaces are constructed through the discursive practices imbricated in linguistic and semiotic resources in signs. I argue that sexed signs are semiotic aggregates that reveal language, gender and sexuality, identity and power situated in spaces. Likewise, I argue that linguistic fetish unveils the symbolic and economic value in the use of linguistic practices. Erotic desire, erotic intimacy through transgression and power embedded in language, and visual elements construct sites of desires. The study is significant in understanding sex tourism spaces in Thailand and in contributing to Thai sociolinguistics. The study has mapped the discursive structure of sex tourism spaces more generally. It also adds to the gender and sexuality scholarship in semiotic landscape and participates in the growing field of the sociolinguistics of sex work.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การท่องเที่ยวทางเพศได้รับความสนใจจากแวดวงวิชาการทางภูมิทัศน์สัญญะค่อนข้างจำกัดตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่สำคัญอย่างมากในการศึกษาวิจัยก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงศึกษาการประกอบสร้างทางวาทกรรมของพื้นที่ท่องเที่ยวทางเพศในกรุงเทพมหานคร บริเวณสีลม ซอยคาวบอย และนานาพลาซ่า งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุรูปแบบของการเลือกภาษาและสัญญะในป้ายทางเพศ วิเคราะห์บทบาทของทรัพยากรทางภาษาและสัญญะในการบ่งชี้เพศสภาพและเพศวิถี และศึกษาการประกอบสร้างทางวาทกรรมของพื้นที่ท่องเที่ยวทางเพศในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลในการศึกษาประกอบด้วยรูปถ่ายของป้ายทางเพศจำนวน 122 ป้ายนอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในบริเวณพื้นที่ของการศึกษาเป็นระยะเวลาประมาณ 5 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวมุ่งเน้นที่ป้ายร้านและป้ายส่งเสริมการขายที่พบในสถานบันเทิง ผู้วิจัยได้ใช้กรอบการศึกษาแบบผสมผสานในการศึกษาป้ายทางเพศดังกล่าว รูปแบบการเลือกภาษาในป้ายที่พบจากผลการศึกษา ได้แก่ การใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น การใช้ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย และการใช้ภาษาอังกฤษกับภาษาอื่น ๆ โดยป้ายที่ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้นมีความสำคัญมากที่สุดทั้งในเชิงความถี่ของการปรากฏและความเด่น รูปแบบทางสัญญะที่พบมีทั้งการใช้เรือนร่างของคน อวัยวะ สัตว์ และสิ่งของ เรือนร่างของผู้ชาย ผู้หญิง และผู้หญิงข้ามเพศปรากฏเป็นรูปเงาในป้ายร้าน ในขณะที่ปรากฏเป็นรูปถ่ายในป้ายส่งเสริมการขาย ทั้งทรัพยากรทางภาษาและสัญญะต่างทำให้เกิดการประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางเพศสภาพและเพศวิถี กระบวนการกลายเป็นคำศัพท์ที่พบจากข้อมูล ได้แก่ การทำให้เป็นส่วนบุคคล การสร้างลักษณะเฉพาะ การทำให้เป็นวัตถุทางเพศ การทำให้เป็นรักต่างเพศ การทำให้เป็นความหลากหลายทางเพศ และการสร้างจินตนาการ คำศัพท์บางคำเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญของอัตลักษณ์ทางเพศสภาพและเพศวิถี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "boy" และ "male" สำหรับชายรักเพศเดียวกัน "ladies" และ "girls" สำหรับหญิงรักต่างเพศ และ "ladyboy" สำหรับผู้หญิงข้ามเพศ เรือนร่างของผู้หญิงถูกบ่งชี้ด้วยผมลอน รองเท้าส้นสูง และการเปลือยกายในรูปเงา ในขณะที่เรือนร่างของผู้หญิงข้ามเพศถูกบ่งชี้ด้วยชุดบิกินี ลักษณะดังกล่าวพบได้ในป้ายบริเวณซอยคาวบอย นานาพลาซ่า และพัฒน์พงศ์ 1 ซึ่งเป็นบริเวณที่ทราบกันว่ามีฐานลูกค้าเป็นชายรักต่างเพศ ในขณะที่เรือนร่างของผู้ชายที่มีกล้ามสามารถพบได้ในป้ายบริเวณพัฒน์พงศ์ 2 และสีลม 4 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายรักเพศเดียวกัน ผลการศึกษาชี้ว่าพื้นที่ท่องเที่ยวทางเพศในกรุงเทพมหานครประกอบสร้างขึ้นผ่านวิถีปฏิบัติทางวาทกรรม ซึ่งทับซ้อนกันอยู่ในทรัพยากรทางภาษาและสัญญะบนป้ายต่าง ๆ ผู้วิจัยพบว่าป้ายทางเพศถือเป็นผลรวมทางสัญญะซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาษา เพศสภาพ เพศวิถี อัตลักษณ์ และอำนาจ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ และยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าเชิงสัญลักษณ์และเชิงเศรษฐกิจของภาษาด้วย นอกจากนี้ ทั้งภาษาและสัญญะต่างก็มีส่วนในการประกอบสร้างพื้นที่ของความปรารถนาด้วย ผลการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจพื้นที่ท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทยและต่อแวดวงภาษาศาสตร์สังคมในสังคมไทย งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นโครงสร้างทางวาทกรรมของพื้นที่ท่องเที่ยวทางเพศโดยทั่วไป มีส่วนเติมเต็มองค์ความรู้เกี่ยวกับด้านเพศสภาพและเพศวิถีในการศึกษาด้านภูมิทัศน์สัญญะ และเป็นส่วนหนึ่งของภาษาศาสตร์สังคมในบริบทของงานบริการทางเพศ ซึ่งเป็นสาขาที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.